- ชื่อ : เสลา (สะ-เหลา) มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “อินทรชิต” มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Lagerstroemia loudonii Teijsm. & Binn. และมีชื่อเรียกอื่น ๆ ได้แก่ เกรียบ ตะเกรียบ ตะแบกขน เสลาใบใหญ่
- ลักษณะทั่วไป : เสลาเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 10–20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ กิ่งห้อยย้อย โน้มลงรอบ ๆ ทรงพุ่ม ลำต้นกลม เปลือกลำต้นมีเทาแกมดำ ลำต้นแตกเป็นร่องเล็ก ๆ ตามยาวลำต้น
- ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปขอบขนาน ขนาดความกว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตร และยาว 16-25 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมเป็นติ่งโค้งมน ยอดอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อยผิวใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน
- ดอก ออกดอกเป็นช่อรูปทรงกระบอกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร ช่อดอกมีดอกย่อยสีม่วงอมชมพู หรือม่วงอมขาว กลีบดอกจะมีประมาณ 6-8 กลีบ เมื่อดอกบานจะมีขนาดความกว้างประมาณ 6-8 เซนติเมตร ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม เวลาออกดอกจะทั้งใบทั้งต้น
- ผล ต้นเสนาจะติดผลในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม ผลรูปทรงกลม ยาวประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ผิวนอกผลแข็ง ผลมีสีเขียวอ่อน เมื่อผลแก่จะมีสีน้ำตาล และเมื่อผลแห้งจะแตกออก ภายในผลมีเมล็ดอยู่จำนวนมาก เมล็ดแบนมีสีน้ำตาลอมเหลือง นิยมขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
- ประโยชน์ : นิยมปลูกเพื่อสร้างร่มเงาและความร่มรื่นให้กับบริเวณโดยรอบ และด้วยความที่ต้นเสนามีดอกสีม่วงอมชมพูสวยงาม จึงนิยมปลูกไว้เพื่อประดับตกแต่งสวน นอกจากนี้เนื้อไม้ของต้นเสนามีความแข็งแรงในระดับหนึ่ง จึงนิยมนำมาทำเครื่องมือ ทำพื้น หรือใช้ทำเป็นไม้แกะสลักให้ดูสวยงาม
6. ไม้มงคลประจำจังหวัดน่าน : ต้นกำลังเสือโคร่ง
- ชื่อ : ต้นกำลังเสือโคร่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betula alnoides Buch.-Ham.ex G.Don ชื่อสามัญคือ Birch ส่วนชื่อท้องถิ่นอื่นของไทย เช่น กำลังพญาเสือโคร่ง
- ลักษณะทั่วไป : กำลังเสือโคร่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูงประมาณ 20–35 เมตร
- ลำต้น ลำต้นมีต่อมระบายอากาศเป็นจุดขาวเล็ก ๆ ปะปนกันอยู่ เปลือกไม้มีสีน้ำตาลเทา มีกลิ่นคล้ายการบูร เวลาแก่จะลอกออกเป็นชั้น ๆ คล้ายกระดาษ ที่ยอดอ่อน ก้านใบ และช่อดอกมีขนสีเหลืองหรือสีน้ำตาลปกคลุม ขนเหล่านี้จะลดน้อยลง ๆ เมื่อแก่
- ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่แกมรูปหอก หรือรูปหอก เนื้อใบบางคล้ายกระดาษ ด้านใต้ของใบมีตุ่ม โคนใบป้านเกือบเป็นเส้นตรง ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยสองชั้นหรือสามชั้น ซี่หยักแหลม ปลายใบเรียวแหลม
- ดอก กำลังเสือโคร่งออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ แห่งละ 2-5 ช่อ ลักษณะเป็นช่อยาวแบบหางกระรอก ดอกย่อยไม่มีก้าน ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียแยกกันอยู่ ช่อดอกเพศผู้ยาว 5–8 เซนติเมตร กลีบรองดอกเป็นรูปโล่หรือเกือบกลม มีแกนอยู่ตรงกลาง ช่อดอกเพศเมียยาว 3–9 ซม. กลีบรอบดอกไม่มีก้านมี 3 หยัก ด้านนอกมีขน รังไข่แบน กรอบนอกเป็นรูปไข่หรือเกือบกลม มีขน ท่อรังไข่ยาวกว่ารังไข่เล็กน้อย ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
- ผล เป็นผลระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธุ์ ผล มีลักษณะแบน กว้าง 2-6 มิลลิเมตร ยาว 2-14 มิลลิเมตร มีปีกโปร่งบางอยู่ทั้ง 2 ข้างของผล ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
- ประโยชน์ : เนื้อไม้ของกำลังเสือโคร่ง มีเนื้อค่อนข้างละเอียด แข็งปานกลาง มีลวดลายสวยงามไสกบตกแต่งง่าย ขัดชักเงาได้ดี จึงใช้ในการก่อสร้าง ทำพื้น เครื่องเรือน ได้ดี เปลือกมีกลิ่นหอมคล้ายการบูร ใช้ต้มเป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย เจริญอาหาร แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- ชื่อ : ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นสารภี คือ Mammea siamensis (Miq.) T.Anderson ต้นสารภีไม่มีชื่อสามัญที่ใช้ทั่วไปในภาษาอังกฤษ ชื่อท้องถิ่นอื่นของไทย ได้แก่ ทรพี (จันทบุรี) สร้อยพี (ใต้) สารพีแนน (เชียงใหม่ เหนือ)
- ลักษณะทั่วไป : สารภีเป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 10-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ
- ลำต้น ลำต้นตรง เปลือกลำต้นสีเทา-เทาดำ แตกเป็นสะเก็ดตลอดลำต้น แตกกิ่งแน่น ปลายกิ่งมักห้อยลง ลำต้นและกิ่งมียางสีขาว
- ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบรูปรีขอบขนาน-รูปไข่กลับแกมขอบขนาน กว้าง 4-7 เซนติเมตร ยาว 14-20 เซนติเมตร ปลายมน โคนใบสอบเรียวแหลมถึงก้านใบ ขอบเรียบ ใบค่อนข้างหนา แข็งเป็นมัน เส้นแขนงใบจำนวนมาก
- ดอก เป็นดอกเดี่ยว สีขาว ขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร ออกดอกเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง มีกลีบเลี้ยง 2 กลีบ กลีบดอก 4-5 กลีบ กลิ่นหอมแรง ร่วงง่าย มีเกสรเพศผู้สีเหลืองจำนวนมาก ออกดอกในช่วงมกราคม-มีนาคม
- ผล เป็นผลประมาณกุมภาพันธ์-เมษายน ผลขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร ทรงรีรูปไข่-กระสวย ปลายแหลม ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลือง มีเมล็ดขนาดใหญ่ 1 เมล็ด ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เป็นพืชที่พบกระจายพันธุ์ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า เวียดนาม และไทย
- ประโยชน์ เป็นพืชสมุนไพร มีสรรพคุณทางยา ดอกสดและแห้ง ใช้เข้ายาหอมบำรุงกำลัง หัวใจ ปอด แก้อ่อนเพลีย เจริญอาหาร แก้ไข้ แก้ลมเวิงเวียนศรีษะ แก้ร้อนใน ดอกตูม ใช้ยอมผ้าไหม ให้สีแดง ผลสุกรับประทานได้ มีรสหวาน เป็นยาบำรุงหัวใจ ขยายหลอดโลหิต เนื้อไม้ใช้ทำเสา พื้นและฝา
8. จังหวัดพิจิตร : ต้นบุนนาค
- ชื่อ : ต้นบุนนาค มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mesua ferrea L. ชื่อสามัญคือ Iron Wood, Ceylon Iron Wood, Indian Rose Chestnut ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ของไทย คือ ปะนาคอ ก๊าก่อ ก้ำก่อ นาคบุตร สารภีดอย
- ลักษณะทั่วไป : บุนนาคเป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15-25 เมตร ลักษณะเป็นทรงยอดพุ่มทึบและแคบ มีพูพอนเล็กน้อยตามโคนต้น
- ลำต้น ลำต้นเปลาตรง เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาลปนเทา สีน้ำตาลเข้ม มีรอยแตกตื้น ๆ หลุดร่วงได้ง่าย
- ใบ ใบบุนนาคเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ลักษณะใบคล้ายรูปใบหอกหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร แผ่นใบหนา ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ใบอ่อนสีชมพู ส่วนใบแก่ด้านบนสีเขียวเข้ม ใต้ใบมีนวลมีเทา-ขาว เส้นใบถี่
- ดอก ดอกมีขนาดใหญ่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-10 เซนติเมตร ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุก 2-3 ดอกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว 4-5 เรียงซ้อนกัน มีกลิ่นหอมเย็น ส่งกลิ่นไปได้ไกล ดอกบานวันเดียว เกสรเพศผู้เป็นฝอยสีเหลืองจำนวนมาก ออกดอกในช่วงในช่วงระหว่างฤดูร้อนถึงฤดูฝนประมาณเดือนมีนาคม-กรกฎาคม
- ผล ผลเป็นรูปไข่ ขนาด 2x4 เซนติเมตร เปลือกแข็ง มีเมล็ด 1-2 เมล็ด ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
- ประโยชน์ : ต้นบุนนาคนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะมีดอกหอมและสวยงาม มีทรงพุ่มสวย ใบเขียวเข้มตลอดปี ให้ร่มเงาได้ เนื้อไม้แข็งและเหนียว แก่นมีสีแดงเข้ม แข็งแรงทนทาน ขัดเงาได้ดี เหมาะสำหรับสิ่งก่อสร้างบ้านเรือน ทำหมอนรองรางรถไฟ ทำเสาสะพาน ต่อเรือน ต่อเกวียน ไม้เท้า ด้ามร่ม ทำสายพานท้ายปืน ฯลฯ ดอกสามารถนำมาใช้กลั่นเป็นน้ำมันหอมระเหย นำมาใช้ในการอบเครื่องหอมได้เป็นอย่างดี และยังใช้ในการแต่งกลิ่นสบู่อีกด้วย น้ำมันที่กลั่นจากเมล็ดบุนนาค ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางต่าง ๆ และนำมาใช้จุดตะเกียงให้กลิ่นหอม นอกจากนี้ในตำรายาแผนไทยระบุว่า สามารถนำบุนนาคมาใช้ประโยชน์ทางยาสมุนไพรได้ทุกส่วนของต้น เช่น รากแก้ลมในลำไส้ เปลือกใช้กระจายหนอง กระพี้แก้เสมหะในลำคอ เป็นยาแก้ลักปิดลักเปิด ใบพอกแผลสด ดอกบำรุงโลหิต
บทความที่เกี่ยวข้อง
เรียบเรียง :
วราพรรณ พูลสวัสดิ์ ครู ชำนาญการพิเศษ สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือ
อ้างอิง :
• กรมป่าไม้. สำนักส่งเสริมการปลูกป่า. (ม.ป.ป.). ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด
https://www.forest.go.th/nursery/สาระน่ารู้/ไม้มงคลประจำจังหวัด/
• ต้นเสลา พันธุ์ไม้พระราชทาน ไม้มงคล นิยมปลูกประดับสวน เพื่อความสวยงาม. (ม.ป.ป.). เกษตรทูเดย์.
• ต้นเสลา พันธุ์ไม้พระราชทาน ไม้มงคล นิยมปลูกประดับสวน เพื่อความสวยงาม. (ม.ป.ป.). เกษตรทูเดย์.
https://kaset.today/พันธุ์ไม้/ต้นเสลา/
• กำลังเสือโคร่ง. (2563, 19 ธันวาคม). เกษตรตำบล. https://www.kasettambon.com/กำลังเสือโคร่ง-ช่วยขับล/
• ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. สารภี. https://apps.phar.ubu.ac.th/phargarden/main.php?action=viewpage&pid=292
• โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. ต้นไม้พระราชทานประจำจังหวัด : สารภี.
http://www.rspg.or.th/plants_data/homklindokmai/province_pl/pdata_37.htm
• สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). บุนนาค. https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1656&code_db=610010&code_type=01