แนวปฏิบัติที่ดี ตอนที่ 2 : แนวปฏิบัติที่ดีกับวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (Deming Cycle : PDCA)

วงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (Deming Cycle : PDCA) เป็นวงจรที่พัฒนามาจากวงจรที่คิดค้นโดยวอล์ทเตอร์ ซิวฮาร์ท (Walter Shewhart) ผู้บุกเบิกการใช้สถิติสำหรับวงการอุตสาหกรรม และต่อมาวงจรนี้เริ่มรู้จักกันมากขึ้น เมื่อเอดวาร์ด เดมมิ่ง (W.Edwards Deming) ปรมาจารย์ด้านการบริหารคุณภาพ 

ได้เผยแพร่ให้เป็นเครื่องมือสำหรับการปรับปรุงกระบวนการทำงานของพนักงานภายในโรงงานให้ดียิ่งขึ้น และช่วยค้นหาอุปสรรคในแต่ละขั้นตอนการผลิตโดยพนักงานเอง จนวงจรนี้เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า “วงจรเดมมิ่ง” ต่อมาพบว่า แนวคิดในการใช้วงจร PDCA นั้น สามารถนำมาใช้ได้กับทุกกิจกรรม จึงทำให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก โดยใช้อักษรนำของศัพท์ภาษาอังกฤษ มาเป็นตัวย่อ คือ PDCA ดังนี้ (สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, 2560) 

P : Plan หมายถึง การวางแผน
D : Do หมายถึง การปฏิบัติตามแผน
C : Check หมายถึง การตรวจสอบและประเมินผล
A : Action หมายถึง การปรับปรุงและพัฒนาผลการปฏิบัติงาน

การดำเนินงานเพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีตามวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง อาจสรุปเป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้

ด้านการวางแผน (P)
1. สำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย และข้อมูลบริบทของชุมชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบ

2. วิเคราะห์งานตามบทบาทหน้าที่ และวิเคราะห์ความสอดคล้องที่เกี่ยวข้อง เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ จุดเน้นการดำเนินงาน สกร. วิสัยทัศน์/พันธกิจ ระบบประกันคุณภาพสถานศึกษา ฯลฯ

3. ค้นหา Best Practice โดยมีประเด็นพิจารณา ดังนี้
3.1 การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจโดยตรงของหน่วยงาน
3.2 การปฏิบัติงานที่สนองต่อนโยบายการแก้ปัญหา การพัฒนาประสิทธิภาพของหน่วยงาน
3.3 การปฏิบัติงานที่สามารถลดขั้นตอน ลดรอบระยะเวลาการทำงาน
3.4 การปฏิบัติงานที่สามารถลดทรัพยากร ลดค่าใช้จ่าย
3.5 การปฏิบัติงานที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ประกอบการทำงาน
3.6 การปฏิบัติงานที่มีการริเริ่มสร้างสรรค์วิธีการขึ้นมาใหม่หรือประยุกต์ขึ้นใหม่ โดยอาจ
ตั้งคำถามว่า นวัตกรรมนั้น คืออะไร (What) ทำอย่างไร (How) ทำเพื่ออะไร (Why)
3.7 การปฏิบัติงานที่สามารถทำแผนผังเชิงเปรียบเทียบวิธีการเก่ากับใหม่ และสิ่งที่เป็นวิธีใหม่จะให้ประโยชน์อะไรดีกว่าวิธีเก่า
3.8 การปฏิบัติงานที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน
3.9 การปฏิบัติงานที่ช่วยวางระบบในการให้บริการ และมีช่องทางที่หลากหลายในการให้บริการดังกล่าว
3.10 การปฏิบัติงานที่สามารถเทียบเคียงวิธีการทำงานลักษณะเดียวกันกับหน่วยงานอื่นได้
3.11 การปฏิบัติงานที่ทำให้มีผลผลิต/ความสำเร็จเพิ่มขึ้น
3.12 การปฏิบัติงานที่สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
3.13 การปฏิบัติงานที่สามารถนำไปใช้เป็นมาตรฐานการทำงานต่อไปได้ยั่งยืนพอสมควร
3.14 การปฏิบัติงานที่มีการพัฒนาปรับปรุงต่อไป

4. นำข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้อ 1-3 มาเป็นกรอบในการกำหนดแนวทางปฏิบัติงาน ดังนี้
4.1 กำหนดวัตถุประสงค์โครงการ/กิจกรรม
4.2 กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ
4.3 กำหนดวิธีดำเนินการ
4.4 กำหนดวิธีการประเมินผลและเครื่องมือการประเมินผล

ขั้นตอนนี้ อาจใช้ตารางวิเคราะห์ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์โครงการ/กิจกรรม ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีดำเนินการ และวิธีการประเมินผลและเครื่องมือการประเมินผล ตามที่ได้กำหนดกรอบการดำเนินงานไว้


ด้านการดำเนินงาน (D)
ปฏิบัติงานตามกรอบการดำเนินงานของแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice)

ด้านการตรวจสอบและประเมินผล (C)
ติดตามและประเมินผล โดยใช้วิธีการและเครื่องมือการประเมินผลที่กำหนด

ด้านการปรับปรุงและพัฒนาผลการปฏิบัติงาน (A)
1. สรุปผลการดำเนินงาน
2. จัดทำรายงานเพื่อนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดี ตามหัวข้อการนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดี

ตัวอย่างหัวข้อการนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดี
1) ชื่อผลงาน (ระบุชื่อผลงานที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี)
2) ชื่อหน่วยงาน/ สถานศึกษา/ สกร. ระดับตำบล
3) คณะทำงานพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดี (ระบุชื่อบุคคล)
4) ความสอดคล้อง (ระบุความสอดคล้องที่เกี่ยวข้อง เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ จุดเน้นการดำเนินงาน สกร. วิสัยทัศน์/พันธกิจ ระบบประกันคุณภาพสถานศึกษา ฯลฯ)
5) ที่มาและความสำคัญของผลงาน
6) วัตถุประสงค์
7) วิธีดำเนินการ
8) ตัวชี้วัดความสำเร็จ
9) การประเมินผลและเครื่องมือการประเมินผล
10) ผลการดำเนินงาน
11) บทสรุป
12) กลยุทธ์หรือปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ
13) ข้อเสนอแนะ
14) การอ้างอิง (ระบุแหล่งอ้างอิง เอกสารอ้างอิง ฯลฯ)
15) ภาคผนวก

สำหรับหัวข้อการนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดี อาจมีหัวข้อการนำเสนอแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับหน่วยงาน/สถานศึกษาเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ควรต้องมีส่วนประกอบสำคัญของการเขียนแนวปฏิบัติที่ดี ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดส่วนประกอบสำคัญของการเขียนแนวปฏิบัติที่ดีในบทความเรื่องแนวปฏิบัติที่ดี

ด้านการดำเนินงาน (D)
ปฏิบัติงานตามกรอบการดำเนินงานของแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice)

ด้านการตรวจสอบและประเมินผล (C)
ติดตามและประเมินผล โดยใช้วิธีการและเครื่องมือการประเมินผลที่กำหนด

ด้านการปรับปรุงและพัฒนาผลการปฏิบัติงาน (A)
1. สรุปผลการดำเนินงาน
2. จัดทำรายงานเพื่อนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดี ตามหัวข้อการนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดี

ตัวอย่างหัวข้อการนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดี
1) ชื่อผลงาน (ระบุชื่อผลงานที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี)
2) ชื่อหน่วยงาน/ สถานศึกษา/ สกร. ระดับตำบล
3) คณะทำงานพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดี (ระบุชื่อบุคคล)
4) ความสอดคล้อง (ระบุความสอดคล้องที่เกี่ยวข้อง เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ จุดเน้น
การดำเนินงาน สกร. วิสัยทัศน์/พันธกิจ ระบบประกันคุณภาพสถานศึกษา ฯลฯ)
5) ที่มาและความสำคัญของผลงาน
6) วัตถุประสงค์
7) วิธีดำเนินการ
8) ตัวชี้วัดความสำเร็จ
9) การประเมินผลและเครื่องมือการประเมินผล
10) ผลการดำเนินงาน
11) บทสรุป
12) กลยุทธ์หรือปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ
13) ข้อเสนอแนะ
14) การอ้างอิง (ระบุแหล่งอ้างอิง เอกสารอ้างอิง ฯลฯ)
15) ภาคผนวก

สำหรับหัวข้อการนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดี อาจมีหัวข้อการนำเสนอแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับหน่วยงาน/สถานศึกษาเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ควรต้องมีส่วนประกอบสำคัญของการเขียนแนวปฏิบัติที่ดี
ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดส่วนประกอบสำคัญของการเขียนแนวปฏิบัติที่ดีในบทความเรื่องแนวปฏิบัติที่ดี ตอนที่ 3 : การเขียนเพื่อนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) 

ในการดำเนินงานเพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีควรดำเนินงานตามแนวทางวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (Deming Cycle : PDCA) หากผู้นำเสนอมีความรู้ ความเข้าใจอย่างชัดเจนในเรื่องดังกล่าว และนำสู่การออกแบบ วางแผน กำหนดกรอบแนวทางดำเนินงานแนวปฏิบัติที่ดี ก็จะสามารถปฏิบัติงานได้บรรลุผลสำเร็จ จนเกิดเป็นนวัตกรรมหรือแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อให้บุคคลอื่นสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานหรือไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ต่อไป


บทความที่เกี่ยวข้อง

เรียบเรียง :
อรวรรณ ฟังเพราะ  ครู ชำนาญการพิเศษ  สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือ

อ้างอิง :
สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2560). แนวทางการนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice). บอยการพิมพ์.