บทบาทสถาบัน กศน.ภาค กับการวิจัย : ตอนที่ 3 การเขียนโครงการเพื่อประเมินโครงการ

จากตอนที่ 2 ซึ่งกล่าวถึงสถาบัน กศน.ภาค กับการวิจัยในเรื่องการวิจัยเพื่อประเมินโครงการฝึกอบรม เนื่องจากงาน/โครงการฝึกอบรมซึ่งเป็นการศึกษาต่อเนื่อง ได้แก่โครงการพัฒนาบุคลากรต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาของสถาบัน กศน.ภาค ในตอนที่ 3 ต่อไปนี้จะกล่าวถึงว่า ก่อนการประเมินโครงการทุกประเภท ต้องมีการเขียนโครงการเพื่อประเมินโครงการก่อน จึงจะดำเนินการประเมินโครงการได้อย่างมีคุณภาพ การเขียนโครงการเพื่อประเมินโครงการมีองค์ประกอบหรือแนวทางดังต่อไปนี้


สมคิด พรมจุ้ย (2552, น. 43) ในการประเมินโครงการซึ่งถือเป็นการวิจัยรูปแบบหนึ่ง
มีกระบวนการดำเนินการประเมิน ดังนี้
  1. ประเมินอะไร: การวิเคราะห์โครงการที่มุ่งประเมิน
  2. ทำไมจึงต้องประเมิน: หลักการและเหตุผลของการประเมิน
  3. ประเมินเพื่ออะไร:  กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน
  4. มีแนวคิดทฤษฎีอะไรบ้าง: ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและแนวทางการประเมิน
  5. จะประเมินได้อย่างไร: การออกแบบการประเมิน
    • กำหนดรูปแบบการประเมิน
    • กำหนดประเภทของตัวแปรหรือข้อมูล หรือตัวชี้วัด
    • กำหนดแหล่งข้อมูล / ผู้ให้ข้อมูล
    • กำหนดเครื่องมือ / วิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
    • กำหนดแนวทางวิเคราะห์ข้อมูล
    • กำหนดเกณฑ์การประเมิน
  6. เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมีอะไรบ้าง : เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
  7. จะเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีใด : การเก็บรวบรวมข้อมูล
  8. จะสรุปข้อมูลให้มีความหมายได้อย่างไร : การวิเคราะห์ข้อมูล
  9. จะนำผลการประเมินไปใช้ได้อย่างไร : รายงานผลการประเมิน
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (2544, น. 263-264) กล่าวว่ารูปแบบของโครงการเพื่อการประเมินโครงการ ประกอบด้วย
  1. หลักการและเหตุผลในการประเมิน: ทำไมจึงต้องประเมิน
  2. วัตถุประสงค์ของการประเมิน : ประเมินเพื่ออะไร
    • 2.1 ผลที่ได้จากการประเมินมีอะไรบ้าง
    • 2.2 ลูกค้าของการประเมินมีใครบ้าง
    • 2.3 วัตถุประสงค์
  3. การวิเคราะห์และการบรรยายสิ่งที่มุ่งประเมิน: สิ่งที่จะประเมินคืออะไรและอย่างไร
    • 3.1 หลักการและเหตุผลของโครงการ
    • 3.2 ธรรมชาติของโครงการ (ทดลอง ถาวร)
    • 3.3 วัตถุประสงค์ของโครงการ
    • 3.4 เป้าหมายของโครงการ
    • 3.5 เนื้อหาสาระของโครงการ
    • 3.6 วิธีการบริหารโครงการ
    • 3.7 บุคลากรในโครงการ
    • 3.8 การเงินทางโครงการ
    • 3.9 เกณฑ์ในการประเมินโครงการ
  4. แบบประเมิน: จะประเมินได้ถูกต้องได้อย่างไร
    • 4.1 ข้อจำกัดเกี่ยวกับแบบประเมินที่ใช้
    • 4.2 โมเดลบริหารโครงการประเมิน
    • 4.3 คำถามเชิงประเมินที่มุ่งแสวงหาคำตอบ
    • 4.4 โมเดลการประเมิน
    • 4.5 ข่าวสารที่ต้องการในการตอบคำถามเชิงประเมิน
    • 4.6 แหล่งข้อมูล
    • 4.7 วิธีการเก็บข้อมูล
    • 4.8 กำหนดการเก็บข่อมูล
    • 4.9 เทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูล
    • 4.10 เกณฑ์การประเมิน
    • 4.11 วิธีที่ใช้รายงานผลการประเมิน (ข้อเขียน ปากเปล่า)
  5. ร่างรายงานการประเมิน:  จะให้ผู้ใช้ผลทราบผลการประเมินได้อย่างไร เมื่อไร
    • 5.1 ส่วนประกอบของรายงานการประเมิน
    • 5.2 ประโยชน์ของการประเมินครั้งนี้
    • 5.3 อคติที่อาจเป็นไปได้ของผู้ประเมินในการเชียนรายงานการประเมิน
    • 5.4 การแจกจ่ายรายงานและการใช้ประโยชน์
    • 5.5 กำหนดการรายงานการประเมิน
  6. งบประมาณการประเมิน: ใช้เงินเท่าไร
    • 6.1 บุคลากร
    • 6.2 ที่ปรึกษา
    • 6.3 เครื่องมือ
    • 6.4 วัสดุสิ้นเปลือง
    • 6.5 การเดินทาง
    • 6.6 ค่าจ้างชั่วคราว
    • 6.7 อื่น ๆ
7. กำหนดการประเมิน : ทำอะไร เมื่อไร ?
    Bar Chart หรือ PERT

ดังนั้น หากพิจารณาถึงกรอบการเขียนการประเมินโครงการ จากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 2 แล้วข้าพเจ้าเห็นว่า จะพบกรอบที่จำเป็นพึงมีดังต่อไปนี้
  1. การวิเคราะห์โครงการที่จะประเมิน ซึ่งประกอบด้วย
    • 1.1 หลักการและเหตุผลของโครงการ
    • 1.2 ธรรมชาติของโครงการ(ทอลอง ถาวร)
    • 1.3 วัตถุประสงค์ของโครงการ
    • 1.4 เป้าหมายของโครงการ
    • 1.5 เนื้อหาสาระของโครงการ
    • 1.6 วิธีการบริหารโครงการ
    • 1.7 บุคลากรในโครงการ
    • 1.8 การเงินทางโครงการ เป็นต้น
  2. หลักการและเหตุผลของการประเมิน คือ ทำไมต้องประเมิน
  3. วัตถุประสงค์ของการประเมิน
  4. การออกแบบการประเมิน ประกอบด้วย
    • 4.1 กำหนดรูปแบบการประเมิน
    • 4.2 กำหนดประเภทของตัวแปรหรือข้อมูล หรือตัวชี้วัด
    • 4.3 กำหนดแหล่งข้อมูล / ผู้ให้ข้อมูล
    • 4.4 กำหนดเครื่องมือ / วิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 
    • 4.5 กำหนดแนวทางวิเคราะห์ข้อมูล
    • 4.6 กำหนดเกณฑ์การประเมิน
    • 4.7 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
    • 4.8 การเก็บรวบรวมข้อมูล
    • 4.9 การวิเคราะห์ข้อมูล
    • 4.10 การรายงานผลการประเมิน
    • 4.11 งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการประเมิน เช่น บุคลากร ที่ปรึกษา เครื่องมือ วัสดุสิ้นเปลือง การเดินทาง ค่าจ้างชั่วคราว อื่น ๆ
    • 4.12 กำหนดการประเมิน

เขียนและเรียบเรียง: ศุภกร ศรีศักดา 

อ้างอิง:
สมคิด พรมจุ้ย. (2552). เทคนิคการประเมินโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จตุพรดีไซน์.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2544). รวมบทความทางการประเมินโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 6). (น.263-264). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 


บทความที่เกี่ยวข้อง:
บทบาทสถาบัน กศน.ภาค กับการวิจัย: ตอนที่ 1 การวิจัยพัฒนาผู้เรียน
บทบาทสถาบัน กศน.ภาค กับการวิจัย: ตอนที่ 2 การประเมินผลโครงการฝึกอบรม

• บทบาทสถาบัน กศน.ภาค กับการวิจัย: ตอนที่ 3 การเขียนโครงการเพื่อประเมินโครงการ