แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิ้กซอ มีดังต่อไปนี้
- ผู้สอนกำหนดขนาดกลุ่ม วิธีแบ่งกลุ่มผู้เรียน สถานที่สำหรับเรียน ซึ่งอาจจะใช้ทั้งห้องเรียน ห้องสมุด หรือห้องกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งแผนงานสำหรับการเรียน ใบงานเอกสารเสริมความรู้ หรือข้อมูลต่าง ๆ สำหรับผู้เรียน
- แบ่งกลุ่มผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนในแต่ละกลุ่มจะเป็นผู้ที่มีความสามารถแตกต่างกัน และให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มตั้งชื่อกลุ่มของตนเอง
ตัวอย่าง : แบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละ 5 คน - ผู้สอนกำหนดงาน ซึ่งเป็นหัวข้อเรื่องที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาในรายวิชาตามที่หลักสูตรกำหนด อธิบายเนื้อหาวิชาในแต่ละหัวข้อเรื่องอย่างย่อ ๆ รวมทั้งเอกสาร งาน และแนวทางการสืบค้นข้อมูลในแต่ละหัวข้อเรื่อง
ตัวอย่าง : ผู้สอนกำหนดหัวข้อเรื่องให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มศึกษา จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่1) การเรียนรู้ด้วยตนเอง
2) การใช้แหล่งเรียนรู้
3) การจัดการความรู้
4) คิดเป็น
5) วิจัยอย่างง่าย
- ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเลือกหัวข้อเรื่องที่ตนสนใจ คนละ 1 หัวข้อ และให้กลุ่มส่งสมาชิกมาเข้ากลุ่มวิชาการ แต่ละกลุ่มจะมีสมาชิกจำนวนหนึ่งที่มาจากทุกกลุ่มซึ่งสนใจในหัวข้อเรื่องเดียวกัน
ตัวอย่าง : แบ่งกลุ่มวิชาการออกเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละ 5 คน - ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มวิชาการ ทำความรู้จักคุ้นเคยกัน โดยการใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และมอบหมายให้ศึกษางานในหัวข้อเรื่องตามความสนใจ โดยผู้สอนจะเตรียมเอกสารในด้านการอ่าน แหล่งข้อมูลสำหรับการสืบค้นให้แก่ผู้เรียน และกำหนดระยะเวลาการทำงาน
- ผู้เรียนแต่ละกลุ่มวิชาการจะศึกษาข้อมูลและอ่านเอกสารต่าง ๆ ตามหัวข้อเรื่องที่ได้รับมอบหมาย ร่วมกันหาความรู้ ปรึกษาหารือ ทบทวนความรู้ ซักถามและตอบคำถามซึ่งกันและกัน ทำให้สมาชิกกลุ่มทุกคนมีความรู้ในเรื่องที่ได้รับมอบหมายในหัวข้อเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี ภายในระยะเวลาที่กำหนด
- ผู้เรียนแต่ละคนจะแยกย้ายกลับกลุ่มเดิมพร้อมกับความรู้ทางวิชาการที่ได้ศึกษามา และนำความรู้ในหัวข้อเรื่องที่ตนได้ศึกษามาจากกลุ่มวิชาการ มาอธิบายให้สมาชิกในกลุ่มให้เข้าใจ ตอบคำถามข้อข้องใจ และเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันในทุกหัวข้อเรื่อง
- ผู้สอนจัดให้ผู้เรียนทุกคนทำแบบทดสอบหลังเรียน โดยครอบคลุมหัวข้อเรื่องทั้งหมด ซึ่งคะแนนที่ได้จะนำมารวมเป็นคะแนนของกลุ่ม ซึ่งผู้เรียนจะต้องทำคะแนนให้ดีที่สุดเพื่อแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของตนเองและเพื่อให้คะแนนของกลุ่มมีความก้าวหน้าสูงสุดและจะได้รับรางวัล ซึ่งกลุ่มที่ได้รับคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยสูงสุดจะได้รับรางวัลและการประกาศรายชื่อของสมาชิกกลุ่มให้ทราบโดยทั่วกัน
การพิจารณาผลสัมฤทธิ์ :
การพิจารณาผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มจะพิจารณาจากคะแนนของการทำแบบทดสอบของแต่ละคนในกลุ่ม และนำมาจัดทำเป็นคะแนนความก้าวหน้า ซึ่งดำเนินการในลักษณะต่อไปนี้
ผู้เขียน/เรียบเรียง :
อรวรรณ ฟังเพราะ ครู ชำนาญการพิเศษ
รสาพร หม้อศรีใจ ครู ชำนาญการพิเศษ
ส่วนวิจัยและพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สถาบัน กศน.ภาคเหนือ
อ้างอิง :
ระวิวรรณ ศรีคร้ามครัน. (2545). เทคนิคการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บทความที่เกี่ยวข้อง :
+ การเรียนแบบร่วมมือ : กลุ่มการเรียนที่เสริมการอ่านและการเขียน
+ การเรียนแบบร่วมมือ : Roundtable
- ผู้สอนจะใช้คะแนนพื้นฐานของผู้เรียนแต่ละคนจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน (pretest) และคะแนนทดสอบของผู้เรียนแต่ละคนจากการทำแบบทดสอบหลังเรียน (postest)
- กำหนดคะแนนความก้าวหน้าในการเรียน (คะแนนเต็มเท่ากับ 100 คะแนน) ดังนี้
- กำหนดตารางในการทำคะแนนความก้าวหน้าของผู้เรียนแต่ละคน กลุ่มที่สมาชิกกลุ่มมีคะแนนความก้าวหน้าสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ จะเป็นกลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง โดยการนำคะแนนความก้าวหน้ามารวมกันหารด้วยจำนวนสมาชิกกลุ่ม กำหนดคะแนนความก้าวหน้าของกลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มที่ได้รับคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยสูงสุด จะได้รับรางวัลและการประกาศรายชื่อของสมาชิกกลุ่มให้ทราบโดยทั่วกัน
ก่อนดำเนินการทดสอบผู้เรียนแต่ละคน ผู้สอนควรอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจเกี่ยวกับระบบการให้คะแนนความก้าวหน้า โดยเน้นเรื่องต่อไปนี้
- คะแนนความก้าวหน้าของผู้เรียนนั้นจะเป็นคะแนนที่ผู้เรียนจะต้องแข่งขันกับตนเอง ซึ่งผู้เรียนแต่ละคนมีโอกาสเท่ากันที่จะทำคะแนนให้สูงขึ้นกว่าคะแนนพื้นฐานของตนเอง เพื่อชัยชนะของกลุ่ม
- คะแนนความก้าวหน้าของกลุ่มจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการเรียนรู้ของสมาชิกในกลุ่ม ซึ่งจะต้องพยายามทำคะแนนความก้าวหน้าให้ดีที่สุด
- การกำหนดคะแนนความก้าวหน้าจะเป็นการให้คะแนนที่ยุติธรรม ทั้งนี้ผู้เรียนจะต้องพยายามเรียนรู้หรือทำคะแนนให้ดีที่สุดและแข่งขันกันตัวเองเพื่อทำคะแนนให้สูงขึ้น
ผู้เขียน/เรียบเรียง :
อรวรรณ ฟังเพราะ ครู ชำนาญการพิเศษ
รสาพร หม้อศรีใจ ครู ชำนาญการพิเศษ
ส่วนวิจัยและพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สถาบัน กศน.ภาคเหนือ
อ้างอิง :
ระวิวรรณ ศรีคร้ามครัน. (2545). เทคนิคการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บทความที่เกี่ยวข้อง :
+ การเรียนแบบร่วมมือ : กลุ่มการเรียนที่เสริมการอ่านและการเขียน
+ การเรียนแบบร่วมมือ : Roundtable