- การตั้งปัญหา ครูถามคำถามที่มีคำตอบที่หลากหลาย เช่น ให้ผู้เรียนบอกชื่อผลไม้ที่มีสีแดง หรือตัวเลขที่เป็นไปได้เมื่อรวมกันแล้วเท่ากับ 10 เป็นต้น
- การช่วยเหลือกันในหมู่ผู้เรียน ผู้เรียนแต่ละคนจะเขียนคำตอบเพียง 1 คำตอบ ลงในแผ่นกระดาษ ตัวอย่างผลไม้ที่มีสีแดง เช่น แอปเปิล แล้วส่งต่อไปยังเพื่อผู้เรียนคนอื่น ๆ ทางซ้ายมือต่อไปเรื่อย ๆ ผู้เรียนทุกคนในกลุ่มจะเสนอความคิดเห็นในลักษณะที่เป็นวงกลม (Roundtable)
กรณีที่ใช้การพูดแทนการเขียน ที่มีลักษณะกิจกรรมเช่นเดียวกับกิจกรรม Roundtable จะเรียกว่า กิจกรรมแบบ Roundrobin ซึ่งเหมาะกับเด็กเล็ก หรือกิจกรรมที่ต้องการความร่วมมือมากกว่าผลผลิต
กิจกรรม Roundtable สามารถนำไปใช้กับวิชาต่าง ๆ เช่น
- วิชาคณิตศาสตร์ เช่น จำนวนที่เป็นไปได้ที่สามารถรวมกันได้ 11 หรือตัวเลขที่ไม่มีอะไรหารลงตัว หรือเศษส่วนที่เท่ากัน
- วิชาภาษาอังกฤษ เช่น อาจให้ผู้เรียนบอกคำนาม คำกริยา คำที่เป็น past tense หรือประโยคอุทาน เป็นต้น
- นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมที่ใช้การระดมความคิดเห็นหรือการสรุปความความคิดเห็นในการประชุมหรืออบรม เช่น การให้ผู้เข้ารับการอบรมช่วยกันสรุปองค์ความรู้ หรือช่วยกันแสดงความคิดเห็นในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
เขียน/เรียบเรียง:
อรวรรณ ฟังเพราะ ครู ชำนาญการพิเศษ
รสาพร หม้อศรีใจ ครู ชำนาญการพิเศษ
ส่วนวิจัยและพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สถาบัน กศน.ภาคเหนือ
อ้างอิง:
อรนุช ลิมตศิริ. (2545). นวัตกรรรมและเทคโนโลยีการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บทความที่เกี่ยวข้อง :
+ การเรียนแบบร่วมมือ : จิ้กซอ II (Jigsaw II)
+ การเรียนแบบร่วมมือ : กลุ่มการเรียนที่เสริมการอ่านและการเขียน