Image by Freepik
การออกแบบห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) ที่ผ่านมามีลักษณะดังนี้
- Learning is Fun เป็นการออกแบบให้ผู้เรียนมีความสนุกและไม่เครียด ผู้เรียนจะได้เล่นเกมในรายวิชาที่จะสามารถออกแบบในลักษณะนี้ได้
- Multimedia ผู้เรียนจะเรียนรู้บทเรียนจากภาพและเสียง สามารถควบคุมขั้นตอนการเรียนรู้ได้ด้วยปลายนิ้วสัมผัสของตนเอง
- Asynchronous learning เป็นการออกแบบการเรียนที่ครูและผู้เรียน ไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่เดียวกันและเวลาเดียวกัน โดยครูจะจัดทำหรือรวบรวม “บทเรียนออนไลน์” ซึ่งผู้เรียนจะเรียนที่ไหนก็ได้ เวลาใดก็ได้ ตามแต่ผู้เรียนจะสะดวก มีบทเรียนให้เลือกมากมายและสามารถเชื่อมโยงไปยังบทเรียนอื่น ที่มีเกี่ยวเนื่องกันได้
- Electronic Library เป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ผู้เรียนสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั่วโลกได้ โดยใช้ Search Engine นอกจากนี้ยังมีบริการให้ค้นหาหนังสือจากห้องสมุดของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ค้นหาคำศัพท์และอื่น ๆ จากเว็บไซต์ต่าง ๆ
ประเภทของห้องเรียนเสมือนจริง จำแนกออกได้ เป็น 2 ประเภท คือ
- ห้องเรียนธรรมดา ที่มีการถ่ายทอดสดภาพและเสียง ที่เกี่ยวกับบทเรียน โดยอาศัยระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่งไปยังผู้เรียนที่อยู่ภายนอกห้องเรียน ผู้เรียนสามารถรับฟังและติดตามการสอนของผู้สอนได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง อีกทั้งยังสามารถโต้ตอบกับผู้สอนหรือเพื่อนในชั้นเรียนได้ แต่ห้องเรียนแบบนี้ยังอาศัยสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เป็นจริงที่เรียกว่า Physical Education Environment
- ห้องเรียนจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างภาพเสมือนจริง เรียกว่า Virtual Reality โดยใช้สื่อที่เป็นตัวหนังสือ (text-based) หรือภาพกราฟิก (graphical-based) ส่งบทเรียนไปยังผู้เรียนโดยผ่านระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ห้องเรียนลักษณะนี้เรียกว่า Virtual Education Environment ซึ่งถือเป็นห้องเรียนเสมือนจริงหรือ Virtual Classroom ที่แท้จริง
Image by freepik
ประโยชน์ของห้องเรียนเสมือนจริง มีดังนี้
- ลดค่าใช้จ่ายในการจัดสถานที่
- ประหยัดเวลา
- ประหยัดค่าเดินทาง
- ประหยัดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
- ปลอดภัยกับผู้เรียนและผู้รับริการเพราะใช้สถานการณ์จำลองในโลกเสมือนจริงที่อยู่ในคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
- สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา
- เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning)
- เพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความมั่นใจ และประสบการณ์
เรียบเรียง :
ธนวัฒน์ นามเมือง ครู สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือ
• สิวาภรณ์ เจริญวงศ์, ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล และอภิสิทธิ์ ตามสัตย์. (2561). ห้องเรียนเสมือนจริงกับการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาลในยุคดิจิตอล. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(2), 120-128.
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/download/143970/106513/
อ้างอิง :
• ภวิสาณัชช์ ศรศิริวงศ์. ห้องเรียนเสมือนจริง Virtual Classroom. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(2), 81-93. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/243935/171322• สิวาภรณ์ เจริญวงศ์, ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล และอภิสิทธิ์ ตามสัตย์. (2561). ห้องเรียนเสมือนจริงกับการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาลในยุคดิจิตอล. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(2), 120-128.
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/download/143970/106513/