ลักษณะทั่วไป
ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
1. ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros mollis Griff.
2. ชื่อไทย : มะเกลือ
3. ชื่อท้องถิ่น : มักเกลือ, ผีเผา, มะเกือ มะเกีย, เกลือ
4. ชื่อสามัญ : Ebony tree
5. วงศ์ (Family) : EBENACEAE
6. สกุล (Genus) : Diospyros
7. ลักษณะวิสัย (Habit) : ไม้ยืนต้น
8. ลักษณะทางพฤกษศาตร์
1. ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros mollis Griff.
2. ชื่อไทย : มะเกลือ
3. ชื่อท้องถิ่น : มักเกลือ, ผีเผา, มะเกือ มะเกีย, เกลือ
4. ชื่อสามัญ : Ebony tree
5. วงศ์ (Family) : EBENACEAE
6. สกุล (Genus) : Diospyros
7. ลักษณะวิสัย (Habit) : ไม้ยืนต้น
8. ลักษณะทางพฤกษศาตร์
- ลำต้น มีลำต้นขนาดย่อม ๆ โคนต้นมักขึ้นเป็นพอพอน ผิวเปลือกเป็นสีดำ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามยาว เปลือกด้านในมีสีเหลือง แก่นสีดำสนิทเนื้อละเอียดเป็นมันสวยงาม
- ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดเล็ก เรียงสลับกัน ก้านใบกว้างประมาณ 3.5-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร โคนและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบมัน แต่ใบอ่อนมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน
ภาพจาก : ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
http://www.qsbg.org/Database/plantdb/mdp/medicinal-specimen.asp?id=742
- ดอก ออกดอกตามซอกใบ มีสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้ออกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆ ช่อหนึ่งมี 3 ดอก มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ที่โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายกลีบดอกโค้งไปด้านหลัง เรียงซ้อนเกยกันทั้งหมด 4 กลีบ มีเกสรอยู่กลางดอก ส่วนดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยว มีขนาดใหญ่กว่า และมีก้านเกสร 4 แฉก รังไข่มีขนปกคลุม
- ช่วงเวลาการออกดอก เดือนมกราคมถึงสิงหาคม
- ผล มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ผิวเรียบเกลี้ยง ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลือง และเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อผลแก่ มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ขั้วผล 4 กลีบภายในผลมีเมล็ดแบนสีเหลืองประมาณ 4-5 เมล็ด
9. การกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา
มีถิ่นกำเนิดในทวีบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ ไทย และเวียดนาม พบในป่าผลัดใบ ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบ ในทุกภาคของประเทศไทยและพบมากในจังหวัดลพบุรี ราชบุรี สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น ชัยภูมิ สกลนคร และอุดรธานี
แผนที่แสดงถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์ของมะเกลือ
ภาพจาก Plant of the world online. https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:322726-1
10. การปลูกและการขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
พรรณไม้นี้สามารถสัมผัสของจริงได้ที่บริเวณด้านข้างระหว่างอาคารส่วนการศึกษา บนพื้นที่สูงกับอาคารเทคโนโลยีทางการศึกษา สถาบัน กศน.ภาคเหนือ
11. การใช้ประโยชน์
ผลมะเกลือ มีสรรพคุณตามตำรายาไทย คือ ผลสดที่โตเต็มที่และมีสีเขียวเข้มช่วยขับพยาธิ ส่วนผลสุกที่มีสีดำสามรถนำไปใช้ย้อมผ้า ย้อมแหซึ่งจะให้สีดำเข้มและติดได้ทนนาน ที่สำคัญมากและต้องระวังคือ ผลมะเกลือสีดำห้ามนำไปรับประทานโดยเด็ดขาดเพราะมีสารพิษที่จะทำให้ตาบอดได้ นอกจากนี้ ไม้มะเกลือซึ่งมีความละเอียดและแข็งแรงทนทาน สามารถนำไปทำเครื่องเรือน เครื่องดนตรี หรือทำตะเกียบได้ดีเช่นกัน
ผลมะเกลือ มีสรรพคุณตามตำรายาไทย คือ ผลสดที่โตเต็มที่และมีสีเขียวเข้มช่วยขับพยาธิ ส่วนผลสุกที่มีสีดำสามรถนำไปใช้ย้อมผ้า ย้อมแหซึ่งจะให้สีดำเข้มและติดได้ทนนาน ที่สำคัญมากและต้องระวังคือ ผลมะเกลือสีดำห้ามนำไปรับประทานโดยเด็ดขาดเพราะมีสารพิษที่จะทำให้ตาบอดได้ นอกจากนี้ ไม้มะเกลือซึ่งมีความละเอียดและแข็งแรงทนทาน สามารถนำไปทำเครื่องเรือน เครื่องดนตรี หรือทำตะเกียบได้ดีเช่นกัน
พรรณไม้นี้สามารถสัมผัสของจริงได้ที่บริเวณด้านข้างระหว่างอาคารส่วนการศึกษา บนพื้นที่สูงกับอาคารเทคโนโลยีทางการศึกษา สถาบัน กศน.ภาคเหนือ
เขียน/เรียบเรียง :
แก้วตา ธีระกุลพิศุทธิ์ ครู ชำนาญการพิเศษ สถาบัน กศน.ภาคเหนือ
ถ่ายภาพ :
สราวุธ เบี้ยจรัส นัชรี อุ่มบางตลาด อรวรรณ ฟังเพราะ
พิชัย สราญรมย์, สาโรช เมาลานนท์ และวราวรรณ กิจธรรม. (2526). ความรู้เรื่องมะเกลือและแนวทางวิจัย. ข่าวสารเกษตรศาสตร์. 28(2), 1-11. https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/kukr/search_detail /dowload_digital_file/39174/70288
แพรวพรรณ เกษมุล. (2556). การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชสกุล Diospyros ในภาคใต้โดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]. https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream /2010/9616/1/384702.pdf
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (ม.ป.ป.). ข้อมูลต้นไม้ : มะเกลือ. ระบบฐานข้อมูลพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. https://buildings.oop.cmu.ac.th/plant/index.php?op=plants&do=treedetail&treeid=3964
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. คณะแพทยศาสตร์. (2564, 30 พฤศจิกายน). มะเกลือ. สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์. https://www.med.tu.ac.th/department/attm/?p=2151
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. คณะเภสัชศาสตร์. (ม.ป.ป). มะเกลือ. ฐานข้อมูลสมุนไพร.
https://apps.phar.ubu.ac.th/phargarden/main.php?action=viewpage&pid=90