ลักษณะทั่วไปของต้นขะจาว
ขะจาว เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ ขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตร ลำต้นมักแตกง่ามใกล้โคนต้น เปลือกลำต้นสีน้ำตาลปนเทา มีต่อมระบายอากาศเป็นจุดกลมเล็ก ๆ สีขาวตามลำต้น เรือนยอดเป็นพุ่มรูปไข่กว้างค่อนข้างทึบ
ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
2. ชื่อไทย : ขะจาว
3. ชื่อท้องถิ่น : กระเจา, กระเชา (ภาคกลาง) กระเจาะ ขะเจา (ภาคใต้) กระเช้า (กาญจนบุรี) กะเซาะ (ราชบุรี) กาซาว (เพชรบุรี) ขะจาวแดง ฮังคาว (ภาคเหนือ) ตะสี่แค (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
พูคาว (นครพนม) มหาเหนียว (นครราชสีมา) ฮ้างค้าว (อุดรธานี เชียงราย ชัยภูมิ)
4. ชื่อสามัญ : Indian Elm
5. วงศ์ : URTICACEAE
6. ลักษณะวิสัย : ไม้ต้น (Tree)
7. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ลำต้น ลำต้นเปลา (สูงชะลูดไม่มีกิ่งที่ลำต้น) เปลือกลำต้นสีน้ำตาลปนเทา
- ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรีป้อมกว้าง 4-9 เซนติเมตร ยาว 7-14 เซนติเมตร โคนใบมนหรือป้าน ปลายใบเรียวแหลม ก้านใบมีขน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นจักฟันเลื่อยห่าง ๆ
- ดอก ขะจาวออกดอกเป็นช่อกระจุก ช่อสั้น ๆ ตามซอกใบ ช่อดอกยาวประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร ดอกมีขนาดเล็ก สีแดงออกน้ำตาล มีกลีบ 5-6 กลีบ เกสรแยกเพศเป็นดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย มีเกสรเพศผู้ 3-9 อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มีก้านสั้น ๆ ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก มีก้านเกสรเพศเมีย 2 อันติดอยู่ส่วนบนสุด
- ระยะเวลาออกดอก เดือนธันวาคม-มกราคม
ดอกขะจาว ภาพโดย Dinesh Valke from Thane, India - Holoptelea integrifolia, CC BY-SA 2.0,
https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=5158618
- ผล ผลเป็นรูปโล่แบน มีปีกบางล้อมรอบ มีก้านเกสรเพศเมีย 2 อันติดอยู่ส่วนบนสุด บริเวณปีกมีลายเส้นออกเป็นรัศมีโดยรอบมีปีกบางล้อมรอบ
9. การกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา
ขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณและป่าทุ่งบนที่ราบหรือตามเชิงเขาที่ไม่สูงจากระดับน้ำทะเลมากนัก พบในอินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ เนปาล เมียนมาร์ ไทย ลาว เวียดนาม และเกาะบอร์เนียว
แผนที่แสดงถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์ของขะจาว
ภาพจาก https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:854174-1
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง ทนแล้ง
11. การใช้ประโยชน์
ต้นขะจาวเป็นไม้เนื้อแข็ง มีเปลือกหุ้มต้นที่เหนียวมาก มีกลิ่นเหม็นเขียว สามารถนำมาทำประโยชน์ได้หลายอย่าง เนื้อไม้ ใช้ทำสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในร่ม ทำเครื่องมือทางการเกษตร เช่น ด้ามจอบ เสียม ทำพานท้ายปืน เส้นใยจากเปลือกเหนียว ใช้ทำเชือก ผ้าและกระสอบ เปลือกมีสรรพคุณทางยา
ใช้ทำยารักษาเรื้อนสุนัข กันตัวไร และเป็นยาแก้ปวดตามข้อ
ต้นขะจาวเป็นไม้เนื้อแข็ง มีเปลือกหุ้มต้นที่เหนียวมาก มีกลิ่นเหม็นเขียว สามารถนำมาทำประโยชน์ได้หลายอย่าง เนื้อไม้ ใช้ทำสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในร่ม ทำเครื่องมือทางการเกษตร เช่น ด้ามจอบ เสียม ทำพานท้ายปืน เส้นใยจากเปลือกเหนียว ใช้ทำเชือก ผ้าและกระสอบ เปลือกมีสรรพคุณทางยา
ใช้ทำยารักษาเรื้อนสุนัข กันตัวไร และเป็นยาแก้ปวดตามข้อ
ขะจาว ต้นไม้คู่เมืองลำปาง
ต้นขะจาวหรือเก๊าจาว ที่มีความสำคัญเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองลำปางมีอยู่ 2 แห่งคือ
1. ต้นขะจาวที่วัดพระธาตุลำปางหลวง
มีลักษณะเป็นสองต้น ต้นใหญ่และต้นเล็กโตแยกออกจากกันที่โคน แต่พุ่มและปลายรวมกันเป็นต้นเดียว ต้นใหญ่มีเส้นรอบวงเกือบ 35 เมตร ความสูง 60 เมตร และต้นเล็กมีเส้นรอบวง 3.02-3.96 เมตร สูงโดยประมาณ 15 เมตร มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาตามความเชื่อว่า ต้นขะจาวต้นนี้ ปลูกเมื่อครั้งพุทธกาล โดยชาวลั่วะคนหนึ่งได้นำกิ่งขะจาวมาทำเป็นคานหาบกระบอกน้ำผึ้ง มะพร้าว และมะตูม มาถวายพระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ ณ วัดพระธาตุลำปางหลวง และได้อธิษฐานแล้วนำปลายไม้ขะจาวปักลงในดิน ไม่นานไม้คานนั้น ก็แตกกิ่งก้านเจริญเติบโต ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ จึงได้นำเอารากไม้ต้นขะจาวไปบูชา หรือนำไปทำเป็นเครื่องรางของขลังห้อยคอ ต่อมาต้นขะจาวซึ่งเป็นต้นเดิมตามตำนาน ได้แห้งและผุลงจนไม่เห็นซากเดิม แต่ก็มีต้นใหม่งอกออกมาตรงที่เดิมเป็นพุ่มใหญ่ ปัจจุบันต้นขะจาวต้นนี้ อยู๋ในความดูแลของวัดพระธาตุลำปางหลวง อ.เมือง จ.ลำปางต้นขะจาวที่วัดพระธาตุลำปางหลวง ภาพจาก https://travel.kapook.com/view195496.html
2. ต้นขะจาวที่ชุมชนบ้านท่าโทก
มีต้นขะจาวขนาดใหญ่อยู่ ณ บริเวณกลางหมู่บ้านท่าโทก ซอย 6 หรือ “ซอยเก๊าจาว” หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งฝาย อ.เมือง จ.ลำปาง ซึ่งชาวบ้านคาดว่าน่าจะมีอายุมากกว่า 1,000 ปี อยู่ข้างหอหลวงเจ้าพ่อแสงเมือง ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของคนในชุมชน ประกอบด้วยต้นขะจาวต้นใหญ่ซึ่งต้นแม่ 2 ต้น และต้นเล็กอีก 2 ต้น ซึ่งเกิดจากเมล็ดขะจาวต้นแม่ มีตำนานเล่าว่าเจ้าพ่อแสงเมืองท่านเป็นทหารศึก ในยามมีศึกท่านจะซุ่มดูข้าศึกอยู่บนต้นขะจาว และส่งสัญญานให้กองทัพทราบว่ามีศัตรูเข้ามารุกราน ปัจจุบันต้นขะจาวต้นนี้อยู่ในความดูแลของชาวบ้านชุมชนบ้านท่าโทก อ.ทุ่งฝาย อ.เมือง จ.ลำปาง
ต้นขะจาวอายุ 1000 ปี ณ บ้านท่าโทก ต. ทุ่งฝาย อ. เมือง จ.ลำปาง
ภาพจากเฟซบุ๊ก รุกขกร กรมป่าไม้ https://www.facebook.com/RFD.Arborist/posts/2315368692067732/
ต้นขะจาวทั้ง 2 ต้นนี้ ได้รับการคัดเลือกให้บันทึกลงในหนังสือ รุกข มรดกของแผ่นดิน ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงพระเจริญพระชนมายุ 63 พรรษา 2 เมษายน 2561 โดยคัดเลือกและรวบรวมประวัติและเรื่องราวของต้นไม้ที่มีชีวิตยืนยาวในท้องถิ่นทั่วภูมิภาคของไทย
เขียน/เรียบเรียง :
นางสาวนัชรี อุ่มบางตลาด ครู ชำนาญการ สถาบัน กศน.ภาคเหนือ
อ้างอิง:
กระทรวงวัฒนธรรม. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2561) รุกข มรดกของแผ่นดิน [Ebook]. น.186-189. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด. http://tree.culture.go.th/tree2561/1/mobile/index.html
ขะจาว ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองลำปาง. (2562, 15 มกราคม). เพซบุ๊กรุกขกร กรมป่าไม้.
https://www.facebook.com/RFD.Arborist/posts/2315368692067732/
ต้นไม้ประจำจังหวัดลำปาง ต้นขะจาว. 108 พรรณไม้ไทย. https://www.panmai.com/PvTree/tr_52.shtml
ตามรอย 63 รุกข มรดกของแผ่นดิน สู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน. https://travel.kapook.com/view195496.html
กรมป่าไม้. สำนักส่งเสริมการปลูกป่า. ส่วนผลิตกล้าไม้. (ม.ป.ป). ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดลำปาง : ขะจาว. https://www.forest.go.th/nursery/สาระน่ารู้/ไม้มงคลประจำจังหวัด/ลำปาง/