ปัญหาหนึ่งที่พบในการจัดทำเอกสารหลักสูตร คือ การเขียนความเป็นมาหรือความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตร เช่น ไม่ได้กล่าวถึงความสำคัญและความจำเป็นของเรื่องตามหลักสูตรว่ามีความสอดคล้องกับนโยบาย วิสัยทัศน์ของรัฐหรือของหน่วยงานในแต่ละระดับอย่างไร ขาดการนำข้อมูลสถานการณ์ สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมปัจจุบันที่เกี่ยวข้องมาขยายความ เชื่อมโยงให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นเกี่ยวกับเรื่องตามหลักสูตร ไม่ได้นำเสนอสภาพชุมชน สังคมของกลุ่มเป้าหมายหรือนำเสนอแต่ยังไม่ชัดเจนพอที่จะเห็นถึงความสำคัญหรือความจำเป็นที่จะพัฒนาหลักสูตรเรื่องนั้น ๆ รวมถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาในเรื่องอะไรบ้าง จึงทำให้การเขียนความเป็นมาของการพัฒนาหลักสูตรยังไม่มีน้ำหนักที่น่าเชื่อถือพอว่าจำเป็นจะต้องพัฒนาหลักสูตรเพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมายใดหรือแก้ปัญหาในเรื่องใด
สำหรับบทความนี้ ผู้เขียนขอนำเสนอแนวทางการเขียนความเป็นมาของการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้ท่านสามารถนำไปใช้หรือประยุกต์ใช้ในการเขียนความเป็นมาหรือความสำคัญ/ความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตร หรือการเขียนหลักการและเหตุผลของโครงการ
ส่วนแรก :
ให้เขียนถึงความสำคัญและความจำเป็นของเรื่องตามหลักสูตรว่ามีความสอดคล้องกับนโยบาย วิสัยทัศน์ของรัฐหรือของหน่วยงานในแต่ละระดับอย่างไร โดยพิจารณานำข้อมูลที่ได้รวบรวมไว้จากแบบวิเคราะห์ความสอดคล้องของข้อมูลต่าง ๆ และ/หรือนำข้อมูลสถานการณ์ สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมปัจจุบันที่เกี่ยวข้องมาขยายความ เชื่อมโยงให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นเกี่ยวกับเรื่องตามหลักสูตรให้มีความชัดเจน เห็นคุณค่าหรือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่กลุ่มเป้าหมาย ชุมชนและสังคมโดยรวม
ส่วนที่สอง : เขียนให้เห็นถึงสภาพชุมชน สังคมของกลุ่มเป้าหมายว่าเป็นอย่างไร โดยนำข้อมูลที่ได้รวบรวมและวิเคราะห์ความสอดคล้องของข้อมูลต่าง ๆ เอาไว้ แล้วเลือกข้อมูลในด้านที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาเขียนรายละเอียดสภาพชุมชนว่ามีทรัพยากร ทุนทางสังคม ภูมิปัญญาที่เป็นความรู้เดิมอะไรบ้างที่จะเอื้อหรือสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ได้ต่อเนื่อง มีสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาในเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งเนื้อหารายละเอียดนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญที่จะนำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหาในหลักสูตรได้ หากมีรายละเอียดของข้อมูลความต้องการการพัฒนามากเท่าใดก็จะได้ข้อมูลมากำหนดเนื้อหาในหลักสูตรมากเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าหลักสูตรนี้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง
ส่วนที่สาม : เป็นข้อสรุปว่า สถานศึกษาได้จัดทำหลักสูตรนี้เพื่อส่งเสริมให้เรียนรู้ หรือสนองตอบนโยบาย และความต้องการของประชาชนกลุ่มเป้าหมายอย่างไร
หมายเหตุ
ในการเขียนความเป็นมาแต่ละส่วน โดยเฉพาะส่วนแรกและส่วนที่สอง อาจเขียนย่อหน้าเดียวหรือมากกว่าหนึ่งย่อหน้าก็ได้ ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ต้องการนำเสนอ หากข้อมูลที่ต้องการนำเสนอมีหลากหลาย ให้จัดหมวดหมู่และเขียนเรียงตามลำดับความสำคัญที่ต้องการนำเสนอ
ตัวอย่างเช่น
- หากข้อมูลส่วนแรกและส่วนที่สองมีไม่มาก ก็อาจเขียนรวมกันในย่อหน้าเดียวก็ได้
- หากข้อมูลส่วนแรกหรือส่วนที่สองมีหลากหลาย ก็อาจแยกเขียนทีละย่อหน้า โดยให้จัดหมวดหมู่และเขียนเรียงตามลำดับความสำคัญที่ต้องการนำเสนอ
หลักการเขียนแต่ละย่อหน้า
ในการเขียนแต่ละย่อหน้า อาจใช้หลักการเขียนย่อหน้า ดังนี้
ย่อหน้าที่ดีจะประกอบด้วยเนื้อความที่อยู่ในขอบเขตของใจความหลัก และเมื่อมีประโยคใจความหลักแล้ว จะมีประโยคที่สนับสนุนประโยคใจความหลักเป็นลำดับ ประโยคใจความหลักอาจจะอยู่ที่ใดที่หนึ่งภายในย่อหน้าก็ได้
2. มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (unity)
ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของย่อหน้าจะเกิดขึ้นได้เมื่อย่อหน้านั้นมีประโยคใจความหลักที่ชัดเจน ประโยคอื่น ๆ ในย่อหน้านั้นจะให้ความคิดที่เกี่ยวข้องกับประโยคใจความหลักทั้งสิ้น
3. มีความสมบูรณ์ (completeness)
ความสมบูรณ์ของย่อหน้า นอกจากประกอบด้วยการมีประโยคใจความหลักและมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว ในการเสนอความคิดในย่อหน้าแต่ละย่อหน้านั้น บางครั้งผู้เขียนจะต้องเสนอรายละเอียดและตัวอย่างให้เพียงพอ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายที่ผู้เขียนต้องการสื่อได้อย่างสมบูรณ์
4. มีการเรียงลำดับเนื้อเรื่องที่ดี (order)
ผู้เขียนจะต้องตัดสินใจว่าจะเรียงลำดับเนื้อเรื่องอย่างไร
4.2 ถ้าเป็นการบรรยาย จะบรรยายจากการเห็น การได้ยิน การได้ลิ้มรส หรือการได้สัมผั
4.3 ถ้าเป็นการเปรียบเทียบ จะเปรียบเทียบความเหมือนหรือความแตกต่า
4.4 ถ้าเป็นการจัดกลุ่มหรือจัดพวก จะแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ หรือกลุ่มย่อ
4.5 ถ้าเป็นการใช้คำจำกัดความ จะให้คำจำกัดความเป็นคำ หรือเป็นขั้นตอน หรือเป็นความคิด
4.6 ถ้าเป็นการวิเคราะห์ จะวิเคราะห์จากส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อย หรือจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่
4.7 ถ้าเป็นการวิเคราะห์กระบวนการ จะวิเคราะห์ว่าของสิ่งนั้นทำงานอย่างไร หรือทำไมจึงทำงานเช่นนั้น
5. มีความสัมพันธ์กัน (coherence)
ประโยค ข้อความ และเนื้อความภายในย่อหน้าจะต้องมีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นในการเขียนเรียบเรียงประโยค จึงต้องมีการใช้คำเชื่อม การซ้ำ การละและการแทน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อการเขียนประโยค
6. มีการสรุป (conclusion)
สำหรับงานเขียนที่มีหลายย่อหน้า แต่ละย่อหน้าก็ต้องมีส่วนประกอบ 6 ประการนี้เช่นกัน แต่ย่อหน้าที่หนึ่งมักจะเป็นย่อหน้าที่นำเสนอใจความหลัก ย่อหน้าต่อ ๆ มาจะเป็นย่อหน้าที่เสนอความคิดสนับสนุนใจความหลัก ย่อหน้าสุดท้ายจะเป็นการสรุปเนื้อเรื่องที่สอดคล้องกับใจความหลักของเรื่อง และจะต้องมีคำ ข้อความ หรือใจความที่โยงความสัมพันธ์กันระหว่างแต่ละย่อหน้าด้วย
นอกจากนี้ ในการเขียนร้อยเรียงประโยค การผูกประโยคแต่ละประโยคเข้าด้วยกัน จะต้องรู้จักใช้คำที่ถูกต้อง รู้จักการนำคำมาผูกเป็นประโยคและรู้จักร้อยเรียงประโยคให้สัมพันธ์กันได้ด้วย จึงจะสื่อความหมายของเรื่องที่เขียนได้ชัดเจน
การเขียนย่อหน้าแต่ละย่อหน้าจะต้องมีการสรุปเนื้อความในแต่ละย่อหน้าตอนท้าย เป็นการสรุปความคิดให้ตรงประเด็นของใจความหลักอีกครั้ง
สำหรับงานเขียนที่มีหลายย่อหน้า แต่ละย่อหน้าก็ต้องมีส่วนประกอบ 6 ประการนี้เช่นกัน แต่ย่อหน้าที่หนึ่งมักจะเป็นย่อหน้าที่นำเสนอใจความหลัก ย่อหน้าต่อ ๆ มาจะเป็นย่อหน้าที่เสนอความคิดสนับสนุนใจความหลัก ย่อหน้าสุดท้ายจะเป็นการสรุปเนื้อเรื่องที่สอดคล้องกับใจความหลักของเรื่อง และจะต้องมีคำ ข้อความ หรือใจความที่โยงความสัมพันธ์กันระหว่างแต่ละย่อหน้าด้วย
นอกจากนี้ ในการเขียนร้อยเรียงประโยค การผูกประโยคแต่ละประโยคเข้าด้วยกัน จะต้องรู้จักใช้คำที่ถูกต้อง รู้จักการนำคำมาผูกเป็นประโยคและรู้จักร้อยเรียงประโยคให้สัมพันธ์กันได้ด้วย จึงจะสื่อความหมายของเรื่องที่เขียนได้ชัดเจน
ตัวอย่างการเขียนความเป็นมาของการพัฒนาหลักสูตร
ผู้เขียนขอนำเสนอตัวอย่างการเขียนความเป็นมาของการพัฒนาหลักสูตรและการวิเคราะห์หลักการเขียนความเป็นมาเชื่อมโยงสู่การเขียนความเป็นมา ดังตัวอย่างที่ 1 - 3
• ต้วอย่างที่ 3 Download
เรียบเรียง:
อรวรรณ ฟังเพราะ ครู ชำนาญการพิเศษ สถาบัน กศน.ภาคเหนือ
อ้างอิง :
ศักดิ์ศรี ปาณะกุล และนิรมล ศตวุฒิ. (2546). การเขียนเอกสารวิชาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคเหนือ. (2560). คู่มือการพัฒนาหลักสูตร สำหรับครู กศน.. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ลำปาง: บอยการพิมพ์.