กศน. กับแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมือง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตอนที่ 2

ความเป็นมา
ในตอนที่ 1 ได้กล่าวถึง ปัญหาการเมือง หลักการของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ประเด็นของการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย คุณลักษณะของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ในตอนที่ 2 จะกล่าวถึงคุณลักษณะของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยเพิ่มเติมอีก 1 ทัศนะ คือ ลักษณะของสังคมประชาธิปไตย คุณลักษณะที่สำคัญของสมาชิกในสังคมประชาธิปไตย โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้

ปริญญา เทวานฤมิตร เสนอว่า พลเมืองในระบบประชาธิปไตย ควรมีคุณลักษณะดังนี้


ลักษณะของสังคมประชาธิปไตย
1. การปฏิบัติต่อกันของประชาชนในสังคมประชาธิปไตย เช่น เคารพในสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ตามขอบเขตที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ใช้หลักเหตุผลในการตัดสินปัญหา ข้อขัดแย้ง เคารพในกฎ กติกาของสังคมเพื่อความสงบสุขและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม มีส่วนร่วมในกิจกรรมของส่วนรวมและสังคม มีน้ำใจเป็นประชาธิปไตย ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ยึดมั่นในหลักความยุติธรรม และการปฏิบัติต่อกันอย่างสม่ำเสมอภาคเท่าเทียมกันของสมาชิกทุกคนในสังคม

2. คุณลักษณะที่สำคัญของสมาชิกในสังคมประชาธิปไตย เช่น มีความยึดมั่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตย เคารพในสิทธิและการตัดสินใจของผู้อื่น ใช้เสียงข้างมากโดยไม่ละเมิดสิทธิเสียงข้างน้อย ยึดถือหลักความเสมอภาคและเท่าเทียมกันของสมาชิก ปฏิบัติตนตามกฎข้อบังคับของสังคม ปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรม ยึดมั่นในวัฒนธรรม ประเพณี เป็นต้น

3. ลักษณะของจริยธรรม คุณธรรม คุณธรรมและจริยธรรม คือ สิ่งที่เป็นความดีควรประพฤติปฏิบัติ เพราะจะนำความสุข ความเจริญ ความมั่นคงมาสู่ประเทศชาติ สังคม และบุคคล คุณธรรมจริยธรรมที่สำคัญ ๆ มีดังต่อไปนี้
  • 1) ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ประเทศชาติ นับว่ามีพระคุณอย่างมหาศาล เพราะเป็นสถานที่ ที่เราทุกคนอยู่อาศัยอย่างผาสุกตั้งแต่เกิดจนตาย ให้เราได้ประกอบอาชีพเลี้ยงชีวิต ให้เราได้ภาคภูมิใจในเกียรติและศักดิ์ศรีที่มีชาติเป็น ของตนเอง ไม่เป็นทาสใคร เราต้องมีความซื่อสัตย์ต่อชาติ รักและหวงแหน ยอมสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อให้ชาติสืบไป ป้องกันไม่ให้ผู้ใดมาทำลาย ปกป้องชื่อเสียงไม่ให้ใครมาดูแคลน และประพฤติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย และขนบธรรมเนียม ประเพณีของชาติบ้านเมือง ศาสนา เป็นที่พึ่งทางกายและทางจิตใจ ทำให้มนุษย์ดำรงชีพร่วมกันในสังคมอย่างมีสันติสุข เรามีหน้าที่ทำนุบำรุงพระศาสนาให้มั่นคงสถาพรสืบต่อไป ด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์พระศาสดา เทิดทูนพระองค์ไว้สูงสุด รับใช้สนองพระมหากรุณาธิคุณอย่างเต็มความสามารถ ประพฤติตนเป็นคนดีไม่เป็นภาระแก่พระองค์ และถ้ามีความจะเป็นแม้ชีวิตของเราเองก็สามารถจะถวายพลีชีพได้ เพื่อความเป็นปึกแผ่น และยั่งยืนของสถาบันพระมหากษัตริย์
  • 2) ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ หมายถึง การปฏิบัติกิจการงานของตนเอง และที่ได้รับมอบหมายด้วยความมานะพยายาม อุทิศกำลังกาย กำลังใจอย่างเต็มความสามารถ ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยจนงานประสบความสำเร็จตรงตามเวลา บังเกิดผลดีต่อตนเองและส่วนรวม ทั้งนี้รวมไปถึงการรับผิดเมื่องานล้มเหลว พยายามแก้ไขปัญหาและอุปสรรคโดยไม่เกี่ยงงอนผู้อื่น
  • 3) ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การเป็นผู้รู้และปฏิบัติตามแบบแผนที่ตนเอง ครอบครัว และสังคมกำหนดไว้ โดยที่จะปฏิเสธไม่รับรู้กฎเกณฑ์หรือกติกาต่าง ๆ ของสังคม
  • 4) ความซื่อสัตย์ หมายถึง การปฏิบัติตน ทางกาย วาจา จิตใจ ที่ตรงไปตรงมา ไม่แสดงความคดโกงไม่หลอกลวง ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ลั่นวาจาว่าจะทำงานสิ่งใดก็ต้องทำให้สำเร็จเป็นอย่างดี ไม่กลับกลอก มีความจริงใจต่อทุกคน จนเป็นที่ไว้วางใจของคนทุกคน
  • 5) ความเสียสละ หมายถึง การปฏิบัติตนโดยอุทิศกำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังปัญญา เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมด้วยความตั้งใจจริง มีเจตนาที่บริสุทธิ์ คุณธรรมด้านนี้เป็นการสะสมบารมีให้แก่ตนเอง ทำให้มีคนรักใคร่ไว้วางใจ เป็นที่ยกย่องของสังคม ผู้คนเคารพนับถือ
  • 6) ความอดทน หมายถึง ความเป็นผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็ง ไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคใด ๆ มุ่งมั่นที่จะทำงานให้บังเกิดผลดีโดยไม่ให้ผู้อื่นเดือดร้อน
  • 7) ความสามัคคี หมายถึง การที่ทุกคนมีความพร้อมกาย พร้อมใจ และพร้อมความคิดเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีจุดมุ่งหมายที่จะปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ โดยไม่มีการเกี่ยงงอนหรือคิดชิงดีชิงเด่นกัน ทุกคนมุ่งที่จะให้สังคมและประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง มีความรักใคร่กลมเกลียวกันด้วยความจริงใจ ความไม่เห็นแก่ตัว การวางตนเสมอต้นเสมอปลายก็หมายถึงความสามัคคีด้วย
จากที่กล่าวมาทั้งหมด สามารถพัฒนาเป็นหลักสูตรการเสริมสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยได้ ดังนี้

เขียนและเรียบเรียง : ศุภกร ศรีศักดา

อ้างอิง :
การเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย. (2554. 5 พฤศจิกายน). สืบค้นจาก https://jiab007.wordpress.com
/2011/11/05/การเป็นพลเมืองดีตามวิถ/

บทความที่เกี่ยวข้อง:
• กศน. กับแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตอนที่ 2