รู้ไหม? สื่อการเรียนรู้ประเภทหนังสือมีอะไรบ้าง

สื่อการเรียนรู้ประเภทหนังสือที่ใช้จัดการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมและมัธยมภายใต้ การควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1) หนังสือเรียน 2) แบบฝึกหัด 3) คู่มือการเรียนการสอน 4) หนังสือเสริมประสบการณ์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. หนังสือเรียน
เป็นหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ใช้สำหรับการเรียนการสอน มีเนื้อหาถูกต้องและสอดคล้องกับหลักสูตร เช่น

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ภาพจาก : https://www.scimath.org/ebooks/item/6759-4

หนังสือเรียนรายวิชาบังคับ รายวิชาศิลปศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ภาพจาก : http://elibrary.nfe.go.th/e_library/nfe/read/ebook/241/

2. แบบฝึกหัด 
เป็นสื่อที่ผู้เรียนใช้ฝึกปฏิบัติเพื่อส่งเสริมให้เกิดทักษะและความแตกฉานในบทเรียน ซี่งกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้กำหนดให้ใช้ในโรงเรียนได้  ซึ่งผู้เขียนให้ข้อสังเกตว่ากระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญแบบฝึกหัดใกล้เคียงกับหนังสือเรียน  กลุ่มสาระการเรียนรู้ประเภททักษะจำเป็นต้องให้นักเรียนฝึกหัดเพื่อความชำนาญ ครูผู้สอนจึงควรสร้างแบบฝึกหัดเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับผู้เรียนของตน

แบบฝึกทักษารายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ เล่ม 1
ภาพจาก : https://www.digitalreadings.com/products_detail/view/3179309

3. คู่มือการเรียนการสอน
เป็นหนังสือที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนที่ครูและนักเรียนใช้ร่วมกัน ไม่บังคับให้นักเรียนต้องมีใช้เป็นรายบุคคล เช่น คู่มือการเรียนการสอนภาษาไทย เรื่อง สร้างเด็กไทยให้อ่านเก่ง อ่านเร็ว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 คู่มือการเรียนการสอนภาษาไทย เรื่อง คิดและเขียนเชิงสร้างสรรค์ เรียงความ ย่อความและสรุปความ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 เป็นต้น
คู่มือการเรียนการสอนภาษาไทย สร้างเด็กไทยให้อ่านเก่ง อ่านเร็ว
ภาพจาก :  http://ulibm.roong-aroon.ac.th/ULIB6/dublin.php?ID=13399131723#.YVWHGJpByM8

4. หนังสือเสริมประสบการณ์  
เป็นหนังสือที่มุ่งเน้นให้นักเรียนศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง 
เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ตามหลักสูตรให้กว้างขวางขึ้น เสริมสร้างทักษะและนิสัย
รักการอ่าน  ซาบซึ้งในคุณค่าของภาษาและความเพลิดเพลิน  จำแนกได้ดังนี้

4.1 หนังสืออ่านนอกเวลา  เป็นหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ใช้ในการเรียน
วิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรนอกเหนือจากหนังสือเรียน สำหรับให้นักเรียนอ่านนอกเวลาเรียน โดยถือว่ากิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับหนังสือนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนตามหลักสูตร

ดอกรักสัตว์แสนรู้  โดย กระทรวงศึกษาธิการ 
หนังสืออ่านนอกเวลา ระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4-6
ภาพจาก : https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&book_id=43094&page_no=1

นกกางเขน โดย กีรติวิทโยลาร (กี่ กีรติวิทโยลาร) และ อร่าม สิทธิสาริบุตร
หนังสืออ่านนอกเวลา ระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4-6
ภาพจาก : https://www.matichonweekly.com/column/article_103300

บ้านเล็กในป่าใหญ่  
โดย ลอร่า อิงกัลล์สไวล์เดอร์  ผู้แปล  สุคนธรส
หนังสืออ่านนอกเวลา ระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1-3
ภาพจาก : https://www.lungkitti.com/products_detail/view/6625885

ชีวิตทนง โดย ภาณุมาศ ภูมิถาวร 
หนังสืออ่านนอกเวลา ระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4-6
ภาพจาก : http://library.thaihealth.or.th/product-detail/6245

4.2 หนังสืออ่านเพิ่มเติม เคยใช้ชื่อเรียกว่า หนังสืออ่านประกอบ เป็นหนังสือที่มีสาระอิงหลักสูตร สำหรับให้นักเรียนอ่าน เพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง ตามความเหมาะสมกับวัยและความสามารถของแต่ละบุคคล 
มานะ มานี 
หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ภาพจาก : https://www.suksapanpanit.com/image/cache/catalog/LB/LB492-800x923.jpg

4.3 หนังสืออุเทศ  เป็นหนังสือสำหรับใช้ค้นคว้า อ้างอิงเกี่ยวกับการเรียนการสอน การเรียบเรียงหนังสือประเภทนี้เป็นหนังสือเชิงวิชาการ 

ภาษาไทย น่าศึกษาหาคำตอบ
หนังสืออุเทศภาษาไทย 
ภาพจาก : http://www.224books.com/product/3110
/หนังสืออุเทศภาษาไทย-ภาษาไทย-น่าศึกษาหาคำตอบ

4.4 หนังสือเสริมการอ่าน  เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นโดยมุ่งส่งเสริมให้ผู้อ่านเกิดทักษะ ในการอ่านและนิสัยรักการอ่านมากยิ่งขึ้น อาจเป็นหนังสือสารคดี นวนิยาย นิทาน ฯลฯ ที่มีลักษณะไม่ขัดต่อความมั่นคงของชาติ วัฒนธรรม ประเพณี และศีลธรรมอันดีงาม ให้ความรู้ มีคติและมีสาระ มีประโยชน์

ราชาธิราช ตอนกำเนิดมะกะโท
ภาพจาก : http://www.malaibooks.com/product/4096
/หนังสือส่งเสริมการอ่าน-ราชาธิราช-ตอน-กำเนิดมะกะโท-เจ้าพระยาคลัง-หน

หนังสือประเภทต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ สามารถนำไปใช้ตามจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน  
แต่สำคัญที่สุดนั้นขึ้นอยู่กับผู้จัดทำ หากมุ่งผลิตหนังสืออย่างมีคุณภาพ ก็ย่อมเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้นำหนังสือเหล่านั้นไปใช้


เรียบเรียง :
แก้วตา ธีระกุลพิศุทธิ์  ครูชำนาญการพิเศษ สถาบัน กศน.ภาคเหนือ

อ้างอิง :
ปราณี ปราบริปู. (2560). แนวทางการสร้างหนังสือเรียนและหนังสืออ่านเพิ่มเติม. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 10 (2), 348-349