สมาธิบำบัดแบบ SKT เป็นการผสมผสานแนวคิดและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ จิตวิทยา สังคมศาสตร์และศาสนศาสตร์ ที่อาศัยการเชื่อมโยงของการปฏิบัติสมาธิกับการทำงานของระบบประสาทและการควบคุมประสาทสัมผัสเข้าด้วยกัน ผู้คิดค้น คือ รศ.ดร.สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นผู้วิจัยและทดลองเรื่องสมาธิบำบัดแบบ SKT ใช้เวลาวิจัยและทดลองเยียวยาผู้ป่วยมานานกว่า 20 ปี และผลจากการศึกษาพบว่า การควบคุมและฝึกระบบประสาทสัมผัสทั้ง 6 ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น การสัมผัส การเคลื่อนไหว มีผลต่อการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทส่วนปลาย ระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบอารมณ์และพฤติกรรม ระบบภูมิต้านทานในร่างกาย ระบบไหลเวียนของเลือด ซึ่งวิธีการฝึกสมาธิแบบ SKT จะช่วยพัฒนาร่างกายให้สามารถเยียวยาตัวเองได้ สามารถบำบัดและรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ อย่างได้ผล โดยอาศัยหลักการสำคัญคือ การปรับความสมดุลการทำงานของร่างกายทั้งระบบให้อยู่ในภาวะปกติ สมาธิบำบัดจะช่วยเยียวยาให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีสุขภาพดีขึ้น โดยมีรูปแบบของสมาธิบำบัดที่เรียกว่า SKT 1-7 หรือ 7 เทคนิค ซึ่งผู้ฝึกไม่จำเป็นต้องปฏิบัติทุกเทคนิคเพราะ แต่ละเทคนิคเหมาะสมกับสภาพร่างกายหรืออาการเจ็บป่วยของคนแต่ละคน
เทคนิคที่ 1 (SKT 1) เป็นการนั่งหรือนอนปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจเข้าทางจมูกลึกๆ และหายใจออกทางปากช้า ๆ
ผลของการฝึก ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ลดความดันโลหิต และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
เทคนิค SKT ที่ 1 ภาพจาก : https://thaicam.go.th/skt-สมาธิบำบัด/ เทคนิคที่ 2 (SKT 2) เป็นท่ายืนหรือท่านอนก็ได้ เป็นท่าที่ผ่อนคลาย ประสานกาย ประสานจิต
ผลของการฝึก จะช่วยลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานได้ดี และควบคุมการทำงานของไขสันหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เทคนิค SKT ที่ 2 ภาพจาก : https://thaicam.go.th/skt-สมาธิบำบัด/
เทคนิคที่ 3 (SKT 3) เป็นท่านั่ง เหยียด ผ่อนคลาย ประสานกาย ประสานจิต
ผลการฝึก ช่วยลดไขมันในเลือด และอาการปวดเข่า ปวดกล้ามเนื้อต้นคอ หลังต้นแขน อาการท้องอืด นอนไม่หลับ ลดความดันโลหิต และลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี ด้วยการควบคุมและปรับประสาทรับความรู้สึกบริเวณไขสันหลัง การทำงานของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 1,2,3,4,5,6,7,9,10,11,12
เทคนิค SKT ที่ 3 ภาพจาก : https://thaicam.go.th/skt-สมาธิ
เทคนิคที่ 4 (SKT 4) ก้าวย่างอย่างไทย เยียวกายา ประสานจิต
เทคนิค SKT ที่ 4 ภาพจาก : https://thaicam.go.th/skt-สมาธิบำบัด/
เทคนิคที่ 5 (SKT 5) ยืดอย่างไทย เยียวกายา ประสานจิต
เทคนิค SKT ที่ 5 ภาพจาก: https://thaicam.go.th/skt-สมาธิบำบัด/
ผลของการฝึกท่าที่ 4 และ 5 นี้ ช่วยป้องกันและเสริมสร้างสุขภาพ และเยี่ยวยาในผู้ที่มีปัญหาระบบกล้ามเนื้อ ช่วยลดความดันโลหิต ลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 1 ลดอาการปวดหลัง ปวดเข่า ท้องผูก เพิ่มภูมิต้านทาน ลดอาการหายใจลำบาก หลอดลมอุดกั้นด้วยการควบคุมและปรับการทำงานของประสาทส่วนกลาง ประสาทรับความรู้สึกบริเวณไขสันหลัง กล้ามเนื้อ ข้อต่อ เอ็น การทำงานของเส้นประสาทสมองทั้ง 12 คู่ ช่วยเพิ่มภูมิต้านทางกับโรคเรื้อรังทุกประเภท
เทคนิคที่ 6 (SKT 6) เทคนิคการฝึกสมาธิการเยียวยาไทยจินตภาพ
ผลของการฝึก เหมาะกับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ติดเชื้อเอสไอวี อัมพาต และผู้ที่มีปัญหาระบบการไหลเวียนโลหิต
เทคนิค SKT ที่ 6 ภาพจาก: https://thaicam.go.th/skt-สมาธิบำบัด/
เทคนิคที่ 7 (SKT 7) เทคนิคสมาธิเคลื่อนไหวชี่กง
ผลการฝึกท่านี้ ลดอาการท้องผูก นอนไม่หลับ อาการ ปวด เรื้อรัง เฉียบพลันและภูมิแพ้ หอบ หืด ไทรอยด์เป็นพิษ คลอเรสเตอรอลสูง นอนไม่หลับ ด้วยการปรับการทำงานของเส้นประสาทสมอง 12 คู่ ปัจจุบัน รศ.ดร.สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี ได้คิดค้นท่าสมาธิบำบัดท่าใหม่เพิ่ม¬ขึ้นอีก 2 ท่า คือ SKT 8 และ SKT 9 สำหรับผู้ป่วยหนักมาก จนไปถึงไม่รู้สึกตัว เช่น มะเร็ง อัมพาต HIV ผู้ป่วยระยะสุดท้ายเดินไม่ได้ ไม่รู้สึกตัว ออทิสติกโดยท่าทั้งสองนี้สามารถให้คนใกล้ชิดเป็นคน¬ช่วยทำการบำบัดเยียวยาผู้ป่วยได้
เทคนิค SKT ที่ 7 ภาพจาก: https://thaicam.go.th/skt-สมาธิบำบัด/
การเตรียมความพร้อมในการฝึกสมาธิบำบัดแบบ SKT
การฝึกสมาธิบำบัดแบบ SKT สามารถปฏิบัติได้ทุกที่ ทุกเวลา จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการป้องกันและบรรเทาโรคได้ ซึ่งเวลาปฏิบัติควรคำนึงถึง อวัยวะภายใน จึงควรมีการเตรียมความพร้อม ดังนี้
- ขณะฝึกปฏิบัติ ควรสวมเสื้อผ้าหลวมๆ ไม่รัดตึง
- อุณหภูมิของสถานที่ฝึกต้องไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป
- ไม่ควรฝึกขณะหิวหรืออิ่มเกินไป
- จิตจะต้องเป็นสมาธิไม่ไหวตามสิ่งเร้ารอบข้าง เช่น เสียง กลิ่น การพูดคุยของคนรอบข้าง
- ควบคุมอารมณ์และความคิดให้นิ่ง ไม่คิดเรื่องใด ๆ ทั้งสิ้น ให้จดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้า-ออก
- ระวังการถูกรบกวนทันที ต้องควบคุมจิตใจให้เป็นสมาธิอย่างแน่วแน่
- ขณะฝึกอาจมีอาการง่วงนอน จึงห้ามฝึกขณะขับขี่ยานพาหนะ ขณะทำงานกับเครื่องจักรกลหรือในสถานที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
- หากมีอาการแน่น อึดอัด หรือหน้ามืด ให้หยุดฝึกและนั่งลงหรือนอนพักทันที
- ผู้ป่วยเบาหวาน ควรพาลูกอมติดตัวไว้
- การเคลื่อนไหวช้า ๆ นุ่มนวลเป็นการระวังการบาดเจ็บเป็นการระวังการบาดเจ็บของอวัยวะภายใน ได้แก่ หัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต
เรียบเรียง : ยุรัยยา อินทรวิจิตร ครู ชำนาญการพิเศษ สถาบัน กศน.ภาคเหนือ
อ้างอิง :
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต. (2563). รายงานสรุปผลโครงการศึกษาและปฏิบัติธรรม "พัฒนาจิต เพื่อชีวิตที่สมดุล" ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับบุคลากรสำนักงาน กปร. และชุมชนบริเวณโดยรอบอาคารสำนักงาาน กปร. ประจำปี 2563. สืบค้นจาก http://www.rdpb.go.th/th/Blogs/การป้องกันการทุจริตและการส่งเสริมจริยธรรม-c178/รายงานสรุปผลโครงการศึกษาและปฏิบัติธรรม-พัฒนาจิต-เพ-v9730
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กองการแพทย์ทางเลือก. สมาธิบำบัด SKT. สืบค้นจาก https://thaicam.go.th/skt-สมาธิบำบัด/