รัฐบาลไทยได้ตระหนักดีถึงความสำคัญของการอ่านออกเขียนได้ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการที่จะใช้แสวงหาความรู้ของประชาชน ดังจะเห็นได้จากความพยายามที่ผ่านมาในทุกยุคทุกสมัยเพื่อให้ประชากรของประเทศมีความรู้และสามารถอ่านออกเขียนได้ ดังจะเห็นได้จากความพยายาม ในการส่งเสริมการรู้หนังสือของรัฐ ในช่วงต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง
ความหมายของ “การรู้หนังสือ”( Literacy)
คำว่า “การรู้หนังสือ” มีผู้ให้ความหมายต่างๆ มากมาย แต่ส่วนใหญ่ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น
การรู้หนังสือ หรือ Literacy หมายถึง ความสามารถด้านภาษาในการเขียน อ่าน ฟัง และ พูดเพื่อการสื่อสาร รวมถึงความเข้าใจของปัจเจกบุคคลและการแลกเปลี่ยนความคิดกันระหว่างคนในสังคม [1]
ภาพโดย: pch.vector จาก www.freepik.com
https://www.freepik.com/free-vector/happy-women-learning-language-online-isolated-flat-vector-illustration-cartoon-female-characters-taking-individual-lessons-through-messenger-education-digital-technology-concept_10613101.htm
คำว่า การรู้หนังสือ เป็นศัพท์บัญญัติในสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถานได้เก็บคำนี้ไว้ในพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ (2555: 337) โดยให้ความหมายว่า “ความสามารถของบุคคลในการ อ่านออก เขียนได้ คิดคำนวณได้ในระดับที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง มาตรฐานการรู้หนังสือของประชากรแต่ละกลุ่มที่ความแตกต่างกัน” จากความหมายดังกล่าว ความสามารถในการรู้หนังสือจึงประกอบด้วยความสามารถ 3 ประการ กล่าวคือ
• ประการแรก บุคคลต้องมีความสามารถในการอ่าน คือ รู้ว่าคำที่มองเห็นอ่านออกเสียงว่าอย่างไร และมีความหมายอย่างไร นี้จึงเรียกว่าอ่านได้
• ประการที่สอง คือ เขียนได้ คือสามารถที่จะถ่ายทอดความคิดของตนผ่านการใช้คำ แล้วนำมาเรียบเรียงเป็นประโยค ข้อความ หรือเรื่องราวในลักษณะต่าง ๆ ที่สื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้
• ประการที่สาม คือ การคิดคำนวณพื้นฐาน อันได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของจำนวน การบวก ลบ คูณ หารเลข เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน [2]
• ประการที่สอง คือ เขียนได้ คือสามารถที่จะถ่ายทอดความคิดของตนผ่านการใช้คำ แล้วนำมาเรียบเรียงเป็นประโยค ข้อความ หรือเรื่องราวในลักษณะต่าง ๆ ที่สื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้
• ประการที่สาม คือ การคิดคำนวณพื้นฐาน อันได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของจำนวน การบวก ลบ คูณ หารเลข เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน [2]
คุณค่าและประโยชน์ของการรู้หนังสือมีความสำคัญมากเพียงไรนั้น จะขออัญเชิญพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ให้มาน้อมนำพิจารณาซึ่งมีความว่า
“หนังสือเป็นเสมือนคลังที่รวบรวมเรื่องราว ความรู้ ความคิด วิทยาการทุกด้าน ทุกอย่าง ซึ่งมนุษย์ได้เรียนรู้ ได้คิดอ่าน และเพียรพยายามบันทึกภาษาไว้ด้วยลายลักษณ์อักษร หนังสือแพร่ไปถึงที่ใดความรู้ความคิดก็แพร่ไปถึงที่นั่น หนังสือจึงเป็นสิ่งมีค่า และประโยชน์ที่จะประมาณมิได้ในแง่ที่เป็นบ่อเกิดการเรียนรู้ของมนุษย์” [3]
...การรู้หนังสือเป็นความจำเป็นสำหรับทุกชาติที่กำลังพัฒนา ตลอดจนเป็นกิจกรรมที่ต้อง ร่วมมือกัน ส่งเสริมให้บรรลุผลให้ได้ ถ้าปราศจากพื้นฐานการรู้หนังสือของประชาชนในประเทศแล้ว ความพยายามในการดำเนินการพัฒนาคงไร้ผล การรู้หนังสือเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมายอันสูงสุด…[4]
ทั้งนี้เนื่องจากผู้ที่รู้หนังสือถือเป็นผู้ที่มี “พลังอำนาจ” ในการที่จะคิด และตัดสินใจเกี่ยวกับตนเอง ดังที่อดีตเลขาธิการองค์การสหประชาติ นายโคฟี อันนัน (Kofi Annan) ได้กล่าวไว้โดยสรุปว่า การรู้หนังสือคือกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของชีวิต และเป็นเครื่องมือที่บุคคลสามารถนำไปใช้เพื่อการเสริมสร้างพลังอำนาจในตนเอง รวมถึงการเสริมสร้างพลังให้แก่ ๓ เสาหลักของ การพัฒนาที่ยังยืน ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาด้านสังคม และการปกป้องสิ่งแวดล้อม จากคำกล่าวดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า พื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องเริ่มจากการที่คนรู้หนังสือ และการรู้หนังสือนี้เอง ที่จะทำให้คนมีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนา เปลี่ยนแปลงและปกป้องสิ่งแวดล้อม รวมถึงทรัพยากรต่าง ๆ อันเป็นเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ [5]
.
..การรู้หนังสือเป็นความจำเป็นสำหรับทุกชาติที่กำลังพัฒนาตลอดจนเป็นกิจกรรมที่ต้องร่วมมือกัน ส่งเสริม
ให้บรรลุผลให้ได้ ถ้าปราศจากพื้นฐานการรู้หนังสือของประชาชนในประเทศแล้ว ความพยายามในการ ดำเนินการพัฒนาคงไร้ผล การรู้หนังสือเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมายอันสูงสุด... [6]
การรู้หนังสือในยุคดิจิทัล
ในยุคดิจิทัล การรู้หนังสือ จะต้องมีความหมายกว้างขวางขึ้นจากเดิมมาก เพราะระบบเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก กล่าวคือ ปัจจุบันโลกเริ่มเข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ที่เทคโนโลยีดิจิทัลจะไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือสนับสนุนการทำงานเฉกเช่นที่ผ่านมาอีกต่อไป หากแต่จะหลอมรวมเข้ากับชีวิตคนอย่างแท้จริง และจะเปลี่ยนโครงสร้างรูปแบบกิจกรรมทางเศรษฐกิจกระบวนการผลิต การค้า การบริการ และกระบวนการทางสังคมอื่นๆ รวมถึงการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลไปอย่างสิ้นเชิง ประเทศไทยจึงต้องเร่งนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยเทคโนโลยีดิจิทัลสามารถตอบปัญหาความท้าทายที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่ หรือเพิ่มโอกาสในการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น การก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง การพัฒนาขีดความสามารถของธุรกิจในประเทศทั้งภาคการเกษตร การผลิต และการบริการ การพัฒนาศักยภาพของคนในประเทศทั้งบุคลากรด้านเทคโนโลยี บุคลากรที่ทางานในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ รวมถึงคนทั่วไปที่จะต้องชาญฉลาด รู้เท่าทันสื่อ เท่าทันโลก เป็นต้น [7]อีกทั้ง Digital Living ซึ่งก็คือ รูปแบบการใช้ชีวิตที่ทันสมัยในยุคปัจจุบัน ที่คนส่วนใหญ่นำ เทคโนโลยีมาช่วยเติมเต็มความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันให้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้เกิดการผนวกรวมและเชื่อมโยงกันของอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำให้อุปกรณ์นั้นฉลาดขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลย คือ โทรศัพท์มือถือ จากเดิมที่ใช้แค่เพื่อติดต่อพูดคุย แต่ปัจจุบันโทรศัพท์เพียงเครื่องเดียวสามารถตอบสนองความต้องการของคนได้หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นบันเทิง สังคมซื้อขาย ทำธุรกรรมการเงิน นอกจากนั้น เรายังได้รับข่าวสารรวดเร็วยิ่งขึ้นด้วย เพราะมีสังคมออนไลน์อย่าง Facebook Twitter และ Line ที่ทำให้โลกเข้ามาใกล้กันมากขึ้น นวัตกรรมใหม่ ๆ ก็ยังเกิดขึ้นมากมายในยุคดิจิตอลนี้ อย่างที่เห็นได้ชัดคือ iPad iPhone
อาจสรุปได้ว่า ลักษณะของสังคมดังกล่าว เป็นสังคมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวคือ เป็นสังคมที่นำเอาระบบเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และการสื่อสารโทรคมนาคมมาใช้ประโยชน์ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนจนทำให้ประสิทธิภาพการบริการต่างๆดีขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมโตขึ้นอย่างรวดเร็ว [8]
ดังนั้นการรู้หนังสือตามคำนิยามเดิมก็ยังมีความจำเป็น แต่การรู้หนังสือในยุคดิจิทัล ยังต้องมีความรู้พื้นฐานอื่นๆอีกมากมาย จึงจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเหมาะสม
รู้ดิจิทัล (Digital literacy)
รู้ดิจิทัล ซึ่งเป็นทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ [9]
ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
การก้าวสู่การเป็น “คน” ที่มีคุณภาพ และเป็นที่ต้องการสังคมในยุคของดิจิทัล ต้องรู้และมีทักษะดิจิทัลต่าง ๆ เช่น
- การใช้เครื่องมือที่มีอยู่และเทคโนโลยี (Tools & Technologies) ต่าง ๆ อาจเป็นเรื่องยากที่เราจะสามารถตามทันเทคโนโลยีได้ทันทั้งหมด เพราะเทคโนโลยีมีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่อย่างน้อยสิ่งที่ต้องสร้างการเรียนรู้ให้กับตนเอง โดยอย่างน้อยต้องให้มีทักษะในด้านของความเข้าใจในพื้นฐานว่าเครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วในยุคปัจจุบันกับเทคโนโลยีที่เราเรียกว่า “อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์” (Internet of Things) หรือ ไอโอที นั่นเอง
- การค้นหาและใช้งาน (Find & Use) ทักษะของการค้นหาและนำไปใช้งานนี้ ไม่ใช่แค่เพียงการเข้าค้นข้อมูลจาก “กูเกิล” (Google) หรือ “เสิร์ชเอนจิน” (Search Engine) ต่าง ๆ ได้เพียงเท่านั้น แต่รวมไปถึงทักษะความสามารถในการที่จะนำไปวิเคราะห์ และตัดสินใจนำข้อมูลที่มีอยู่มากมายในโลกอินเตอร์เน็ตมาใช้งานได้อย่างมีประโยชน์และมีประสิทธิภาพ โดยเข้าใจถึงลิขสิทธิ์ของข้อมูลและการนำไปใช้ อีกด้วย
- การสอนและเรียนรู้ (Teach & Learn) ทักษะในด้านนี้ เป็นทักษะที่ต้องอาศัยความร่วมมือกัน การแบ่งปันองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ กล่าวก็คือทั้งผู้เรียนและผู้สอน จำเป็นต้องมีทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ถูกต้องอยู่แล้วในระดับหนึ่ง รวมถึงการใช้เครื่องมือในการนำเสนอ (Presentation Tools) ได้โดยเราสามารถเรียนรู้ได้จากหลากหลายช่องทาง เนื่องจากทุกวันนี้มีแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ให้ความรู้อยู่มาก ในรูปแบบออนไลน์ทำให้สามารถเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในรูปแบบของ วีดีโอ (VDO) ที่มีบอกทั้งวิธีการทำการตลาด (Marketing) หรือแม้แต่ การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Science) ก็ยังมีให้เห็น ซึ่งเป็นความรู้ที่ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง หรือลงทุนไปเรียนในต่างประเทศ
- ทักษะ การสื่อสาร และความร่วมมือ (Communication and Collaborate) ทุกวันนี้เราคงยากที่ปฏิเสธการอยู่ในโลกของดิจิทัล เนื่องจากเทคโนโลยีได้กลายเป็นส่วนหนึ่งชีวิต และสร้างให้เกิดสังคมใหม่ ๆ ที่แบ่งแยกออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ มากขึ้น และยิ่งเทคโนโลยีทำให้ทุกคนเชื่อมต่อกัน สื่อสารกันได้ง่ายขึ้นมากเท่าไร ย่อมหมายถึงรูปแบบการทำงานย่อมเปลี่ยนแปลงแยกย่อยเป็นกลุ่มก้อน ที่มีความต้องการ ทัศนคติที่แตกต่างกันไปมากเท่านั้น ดังนั้น คน จึงจำเป็นต้องเรียนรู้เพิ่มในเรื่องทักษะในการทำงานแบบใหม่ ด้วยการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อีเมล (E-mail) วิดีโอ คอนเฟอเรนซ์ (Video Conference) วิกิ (Wiki) แมสเสจจิง (Messaging) และเครื่องมือทางเทคโนโลยี (Colloboration Tools) ในการแชร์ข้อมูล เพื่อที่จะให้สามารถทำงานร่วมกันได้ในสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
การรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy)
ภาพโดย: macrovector จาก www.freepik.com
https://www.freepik.com/free-vector/university-campus-library-bookcases-flat-composition-with-students-reading-books-articles-with-bookshelves_7201294.htm
การรู้เรื่องการอ่าน หมายถึง ความรู้และทักษะที่ทำให้เข้าใจเรื่องราวและสาระจากสิ่งที่อ่าน สามารถตีความหรือแปลความหมายของข้อความที่อ่าน และคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงกลับไปถึงจุดหมายของการเขียนได้ว่า ต้องการส่งสารอะไรให้กับผู้อ่าน
PISA (Programme for International Student Assessment) ก็ยังให้ความสำคัญโดยมีการประเมินการรู้หนังสือ (Literacy) ที่เน้นสมรรถนะของนักเรียนที่จะใช้ความรู้หรือทักษะเพื่อเผชิญชีวิตจริง มากกว่าการเรียนรู้ตามหลักสูตรในโรงเรียน การอ่าน (Reading Literacy) ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ PISA ประเมิน [10]
การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) [11]
ภาพโดย: stories จาก www.freepik.com
https://www.freepik.com/free-vector/mathematics-concept-illustration_11119937.htm
การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เป็นสิ่งจำเป็นประการหนึ่งในการดำเนินชีวิตปัจจุบันซึ่งคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย สำนักงานบัณฑิตยสภาได้อธิบายไว้ ดังนี้
การรู้คณิตศาสตร์(Mathematical Literacy) หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการคิด ใช้ และตี ความคณิตศาสตร์ในบริบทที่หลากหลาย รวมถึงการใช้เหตุและผลอย่างเป็นคณิตศาสตร์ ใช้แนวคิด กระบวนการ ข้อเท็จจริงและเครื่องมือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในการบรรยาย อธิบาย และทำนายปรากฏการณ์ต่าง ๆ การรู้คณิตศาสตร์ช่วยให้รู้และเข้าใจบทบาทของคณิตศาสตร์ที่มีในโลก ทำให้สามารถตัดสินใจบนพื้นฐานของแก่นความรู้ทางคณิตศาสตร์ได้ ทำให้เป็นบุคคลที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์ มุ่งมั่นและสะท้อนการคิด
การรู้คณิตศาสตร์เป็นสิ่งจำเป็นประการหนึ่งในการดำเนินชีวิตปัจจุบัน โดยที่การรู้คณิตศาสตร์ไม่ได้เน้นการรู้เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ตามหลักสูตรในโรงเรียน แต่เน้นการนำคณิตศาสตร์ที่ได้เรียนมาใช้ในสถานการณ์ของชีวิตจริง สามารถประยุกต์ใช้กับสถานการณ์และบริบทที่หลากหลายได้
การรู้หนังสือในครอบครัว (Family Literacy) [12]
ภาพจาก :
https://www.freepik.com/free-vector/organic-flat-international-day-families-illustration_13297628.htm
ในสังคมยุคดิจิทัล การรู้เรื่องพื้นฐานของครอบครัวก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้
และเป็นการรู้หนังสือสำหรับผู้ใหญ่ เพราะสังคมยุคนี้คนทุกคนต่างมีอิสระ มีโลกของตนเองเป็นสำคัญ
การทำให้ครอบครัวที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นครอบครัวที่ยั่งยืนจึงเป็นเรื่องจำเป็น คำว่าการรู้หนังสือของครอบครัวจึงเกิดขึ้น เช่น คุณพ่อคุณแม่ที่มีความสามารถ การศึกษาที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็ก ๆประสบความสำเร็จในประสบการณ์ของโรงเรียนและชีวิต การสร้างความสัมพันธ์สายใยที่ยั่งยืนของครอบครัว เป็นต้น
จะเห็นว่า ขอบข่ายการรู้หนังสือนอกจากกว้างขวางมากยิ่งขึ้นแล้ว ยังมีขอบข่ายทีหลากหลาย ที่กล่าวมาทั้งทั้งหมดเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องค้นหาและดำเนินการให้ทันกับการเปลี่ยนต่อไป ผู้เรียบเรียงขอขอบคุณข้อมูลและความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ที่กล่าวอ้างมา ณ โอกาสนี้ด้วย
เรียบเรียง: ศุภกร ศรีศักดา
อ้างอิง:
[1] ความหมายของคำว่า literacy. สืบค้นจาก eclassnet.kku.ac.th/etraining/file/1213687611-activity1.doc
[2] เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2557, 26 ตุลาคม). การรู้หนังสือ (literacy): เริ่มต้นที่การอ่าน. สืบค้นจาก https://thailanguageinstruction.wordpress.com/2014/10/26/การรู้หนังสือ-literacy-เริ่มต้/
[3] ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล. (2559, 9 กันยายน). วันการรู้หนังสือสากล. เดินิวส์ออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.dailynews.co.th/article/522383/
[4]นโยบายส่งเสริมการรู้หนังสือไทย กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ เอกสารเสนอคณะรัฐมนตรี
[5] เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2557, 26 ตุลาคม). การรู้หนังสือ (literacy): เริ่มต้นที่การอ่าน. สืบค้นจาก https://thailanguageinstruction.wordpress.com/2014/10/26/การรู้หนังสือ-literacy-เริ่มต้/
[6] สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. เอกสารสาระหลักการและแนวคิด ประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน. สืบค้นจาก http://ebook.nfe.go.th/nfe_ebook/data_ebook/20/14_1_10.pdf
[7] แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หน้า 1
[8] บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน). (2559). Digital SMEs Digital Thailand. กรุงเทพฯ:
ซีเอส ล็อกซอินโฟ.
[9] สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. Digital literacy คืออะไร. สืบค้นจาก https://www.ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp
[10] น้ำทิพย์ วิภาวิน. การรู้เรื่องการอ่าน การรู้สารสนเทศ และการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศ. สืบค้นจาก http://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/3009/3029
[11] จินดารัตน์ โพธิ์นอก. (2557, 27 สิงหาคม). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก http://www.acces.nysed.gov/aepp/adult-literacy-educational-programs