เช่น หลักการ จุดหมาย มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอน การจัดเวลาเรียน สื่อการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ ฯลฯ การศึกษาส่วนประกอบต่าง ๆ ในหลักสูตรจะต้องมีการวิเคราะห์ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ และผลกระทบที่มีต่อกัน เพื่อตัดสินใจวางแผนและเตรียมการจัดทำต้นฉบับหนังสือเรียน
ขั้นที่สอง พิจารณาผู้เรียน
เรียบเรียง :
ขั้นที่สอง พิจารณาผู้เรียน
ได้แก่ ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์พื้นฐาน ภูมิหลัง
ของผู้เรียนในชั้นเรียนที่ผ่านมา และความพร้อมที่จะเรียนในชั้นเรียนที่สูงขึ้น เพื่อนำมาเป็นข้อมูลที่จะใช้
วางแผนเตรียมการจัดทำต้นฉบับหนังสือเรียนสำหรับผู้เรียนในขั้นตอนต่อไป
ของผู้เรียนในชั้นเรียนที่ผ่านมา และความพร้อมที่จะเรียนในชั้นเรียนที่สูงขึ้น เพื่อนำมาเป็นข้อมูลที่จะใช้
วางแผนเตรียมการจัดทำต้นฉบับหนังสือเรียนสำหรับผู้เรียนในขั้นตอนต่อไป
ขั้นที่สาม วางแผนเตรียมการจัดทำต้นฉบับ ดังนี้
- นำขอบข่ายเนื้อหาสาระที่ระบุไว้ในหลักสูตร มากำหนดเป็นเรื่อง หรือหัวข้อใหญ่ และหัวข้อย่อยในบทต่าง ๆ ของหนังสือเรียน
- วางจุดประสงค์การเรียนรู้ หรือมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรที่ผู้เรียนจะต้องแสดงความรู้ความสามารถตามสาระความรู้แต่ละเรื่อง แต่ละหัวข้อ
- วางแนวทางการนำเสนอเนื้อหาสาระในแต่ละเรื่อง ตอนหรือบท ที่ชัดเจน น่าสนใจ มีตัวอย่างภาพประกอบ เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาและทำความเข้าใจด้วยตนเองของผู้เรียน
- ตั้งชื่อเรื่อง เรียงลำดับเนื้อหา และหัวข้อย่อย ๆ ที่จะส่งเสริมกระบวนการเรียนการสอน แก่ผู้สอนที่หน้าที่ถ่ายทอดความรู้และผู้เรียนที่ทำความเข้าใจเนื้อหาสาระเหล่านั้น
- วางรูปแบบของบทเรียน แต่ละบทในหนังสือเรียนทั้งเล่ม
- วางเค้าโครงเรื่องของหนังสือเรียน
- ค้นหา รวบรวมแหล่งข้อมูลทั้งเกี่ยวกับเนื้อหาและภาพประกอบ
- กำหนดระยะเวลาที่ใช้เขียนต้นฉบับ
ขั้นที่สี่ เขียนต้นฉบับ
ผู้เขียนเขียนต้นฉบับเป็นบท ๆ ตามเค้าโครงเรื่องที่กำหนดไว้
ขั้นที่ห้า บรรณาธิการกิจต้นฉบับ
หลังจากได้ต้นฉบับหนังสือเรียนแล้ว ต้องตรวจพิจารณาความถูกต้องของเนื้อหา ความกลมกลืนสอดคล้องในการนำเสนอเนื้อหา และการใช้คำศัพท์ต่าง ๆ ตรวจแก้ไขการใช้ภาษา ความชัดเจน ความถูกต้องและเหมาะสมของภาพประกอบ และความสอดคล้องกับหลักสูตรและมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นต้น จึงส่งต้นฉบับเข้าสู่กระบวนการจัดพิมพ์เป็นเล่มต่อไป
ขั้นตอนทั้งห้านี้เป็นขั้นตอนหลักที่นิยมใช้จัดทำหนังสือเรียน การดำเนินการจัดทำหนังสือเรียน
บางลักษณะอาจเพิ่มบางขั้นตอน เพื่อทำให้หนังสือเรียนมีประสิทธิภาพตามความต้องการของผู้จัดทำ
เรียบเรียง :
แก้วตา ธีระกุลพิศุทธิ์ ครู ชำนาญการพิเศษ
อ้างอิง :
ปราณี ปราบริปู. (2560). แนวทางการสร้างหนังสือเรียนและหนังสืออ่านเพิ่มเติม. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ,, 10(2), 350-351. สืบค้นจาก https://www.stou.ac.th/website/ศึกษาศาสตร์/24.ปราณี%20%20ปราบริปู.pdf