เอกสารวิชาการ หมายถึง เอกสาร หนังสือ หรือสิ่งพิมพ์ในรูปแบบอื่นที่บรรจุสาระความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ที่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ หรือได้จากการศึกษา ค้นคว้า คิดค้น สร้างสรรค์ และวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ขึ้น ทั้งนี้เพื่อเสนอให้ผู้อ่านศึกษาและนำไปใช้ หรือประยุกต์ใช้ หรือคิดค้นต่อเนื่องไปให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาบุคคลหรือพัฒนางาน
ประเภทของเอกสารวิชาการ
2. หนังสือเรียน
หมายถึง งานแต่งหรืองานเรียบเรียงที่จัดทำขึ้น สำหรับใช้ในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตร และมีเนื้อหาสาระครอบคลุมตามขอบเขตของวิชา จัดทำเป็นรูปเล่มเหมือนตำรา แต่ปริมาณเนื้อหาขึ้นอยู่กับขอบเขตเนื้อหาวิชา
3. หนังสือเสริมประสบการณ์ หมายถึง หนังสือที่จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองเพิ่มเติมจากเนื้อหาวิชาในหลักสูตร หรือเพิ่มเติมจากการเรียนในชั้นเรียน นอกจากนี้หนังสือเสริมประสบการณ์อาจจัดทำขึ้นเพื่อสร้างเสริมทักษะเฉพาะ หรือเพื่อให้ได้ความสนุกสนานควบคู่ไปกับความรู้ หนังสือเสริ,ประสบการณ์สามารถจำแนกออกได้ดังนี้
เอกสารวิชาการ เป็นงานเขียนที่มีกำหนดรูปแบบการเขียนที่แน่นอน และเอกสารวิชาการแต่ละประเภทจะมีรูปแบบการเขียนเฉพาะอย่างไม่เหมือนกัน ผู้เขียนจะเขียนเอกสารวิชาการประเภทใดก็จะต้องเขียนตามรูปแบบเฉพาะตัวของเอกสารวิชาการประเภทนั้น
1. ตำรา
หมายถึง งานแต่งหรืองานเรียบเรียงที่มีเนื้อหาสาระความรู้ละเอียดครบถ้วน ครอบคลุมตามชื่อเรื่อง มีความทันสมัย รูปเล่มจัดเป็นระบบ ประกอบด้วยคำนำ สารบัญ เนื้อเรื่อง สรุป และการอ้างอิง ใช้สำหรับการศึกษาค้นคว้า มีปกนอ กและปกใน ปกนอกมักจะได้รับการออกแบบให้เร้าความสนใจของผู้อ่าน
1. ตำรา
หมายถึง งานแต่งหรืองานเรียบเรียงที่มีเนื้อหาสาระความรู้ละเอียดครบถ้วน ครอบคลุมตามชื่อเรื่อง มีความทันสมัย รูปเล่มจัดเป็นระบบ ประกอบด้วยคำนำ สารบัญ เนื้อเรื่อง สรุป และการอ้างอิง ใช้สำหรับการศึกษาค้นคว้า มีปกนอ กและปกใน ปกนอกมักจะได้รับการออกแบบให้เร้าความสนใจของผู้อ่าน
2. หนังสือเรียน
หมายถึง งานแต่งหรืองานเรียบเรียงที่จัดทำขึ้น สำหรับใช้ในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตร และมีเนื้อหาสาระครอบคลุมตามขอบเขตของวิชา จัดทำเป็นรูปเล่มเหมือนตำรา แต่ปริมาณเนื้อหาขึ้นอยู่กับขอบเขตเนื้อหาวิชา
ภาพโดย : jcomp จาก www.freepik.com
- 3.1 หนังสืออ่านนอกเวลา หมายถึง หนังสือที่ใช้ในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งควบคู่กับหนังสือเรียน แต่หนังสืออ่านนอกเวลานี้ผู้เรียนจะต้องอ่านเองนอกเวลาเรียน ไม่ได้นำเข้าไปในชั้นเรียนเหมือนกับหนังสือเรียน ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ให้กว้างขึ้น ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักการอ่านเพิ่มเติม และมีการประเมินผลจากการอ่านหนังสือนอกเวลาเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการเรียนในวิชานั้น
- 3.2 หนังสืออ่านประกอบ หมายถึง หนังสือที่มีเนื้อหาสาระอ้างอิงหลักสูตร โดยอาจจะนำเนื้อหาในหลักสูตรมาเขียนในลักษณะที่เพิ่มเติมให้ผู้เรียนแม่นยำความรู้มากขึ้น หรือในลักษณะการประยุกต์ใช้ความรู้ ผู้เรียนสามารถศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสืออ่านประกอบได้ด้วยตนเองเพื่อการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของตนเอง
- 3.3 หนังสือเสริมการอ่าน หมายถึง หนังสือที่จัดทำขึ้น เพื่อเสริมทักษะการอ่านและส่งเสริมการอ่าน เช่น หนังสือ นิทาน นวนิยาย เรื่องสั้น สารคดี เป็นต้น เนื้อหาสาระจะให้ความสนุกสนานควบคู่ไปกับสาระความรู้ ประโยชน์ ให้คติ ข้อคิด รวมทั้งการปลูกฝังคุณธรรมและลักษณะนิสัยที่ดี
- 3.4 หนังสือแบบฝึกหรือแบบฝึกหัด หมายถึง เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะหรือลงมือปฏิบัติในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระที่เรียนไปแล้วให้เกิดความคล่องแคล่วในทักษะหรือการนำความรู้ไปใช้
4. รายงานการศึกษาค้นคว้า
หมายถึง เอกสารทางวิชาการที่เขียนในรูปของรายงาน เนื้อหาได้มาจากการค้นคว้าและรวบรวบข้อมูลจากตำรา หนังสือ บทความทางวิชาการ ผลการสัมมนา การอภิปราย การทดลอง หรือการสัมภาษณ์จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ รูปแบบของรายงานประกอบด้วย ส่วนนำที่มีคำนำและสารบัญ ส่วนเนื้อความที่มีเนื้อหาสาระและการเขียนอ้างอิงในเนื้อหา และส่วนท้ายมีรายการอ้างอิงและภาคผนวก แล้วจัดทำเป็นเล่มมีปกนอกและปกใน
5. รายงานการวิเคราะห์
5. รายงานการวิเคราะห์
หมายถึง เอกสารรายงานผลการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่แยกศึกษาเป็นส่วนย่อยทีละส่วน เพื่อให้เข้าใจเรื่องนั้น ๆ ได้ละเอียดขึ้นและชัดเจนขึ้น โดยการกำหนดเรื่องที่จะศึกษา ขอบเขตของเรื่อง วิธีการศึกษา ประเด็นที่แยกแยะออกเป็นส่วนย่อย ข้อมูลเปรียบเทียบ สรุปผลการวิเคราะห์และข้อเสนอแนะ แล้วนำผลการวิเคราะห์ตามหัวข้อดังกล่าวมาเขียนเป็นรายงาน อาจมีตัวอย่าง แผนภูมิ ตาราง หรือผลการคำนวณค่าทางสถิติมาประกอบด้วย เช่น รายงานการวิเคราะห์งบประมาณเพื่อการจัดการศึกษา ปีงบประมาณ 2561 เป็นต้น
6. รายงานการวิจัย
หมายถึง เอกสารรายงานผลการวิจัยทั้งที่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ รายงานการวิจัยนี้มีรูปแบบเฉพาะและเป็นรูปแบบที่เป็นสากล ประกอบด้วย บทคัดย่อ บทนำ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง วิธีดำเนินการวิจัย วิธีวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อสรุป และข้อเสนอแนะ แล้วจัดทำเป็นรูปเล่ม
6. รายงานการวิจัย
หมายถึง เอกสารรายงานผลการวิจัยทั้งที่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ รายงานการวิจัยนี้มีรูปแบบเฉพาะและเป็นรูปแบบที่เป็นสากล ประกอบด้วย บทคัดย่อ บทนำ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง วิธีดำเนินการวิจัย วิธีวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อสรุป และข้อเสนอแนะ แล้วจัดทำเป็นรูปเล่ม
7. บทเรียนสำเร็จรูป
หมายถึง บทเรียนที่สร้างขึ้นให้มีความสมบูรณ์ด้านเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนสำหรับผู้เรียนเรียนด้วยตนเองตามลำพัง เป็นการเรียนที่จัดเตรียมไว้ล่วงหน้า กำหนดจุดประสงค์ของแต่ละบทเรียนไว้อย่างชัดเจน แบ่งเนื้อหาบทเรียนเป็นส่วนย่อยและค่อย ๆ เสนอเป็นลำดับขั้นตอน มีกิจกรรมการเรียนในลักษณะที่ให้ผู้เรียนได้สนองตอบเป็นระยะ ๆ เช่น ตอบคำถาม เติมคำ เป็นต้น เพื่อตรวจสอบความเข้าใจ มีการเฉลยคำตอบทันทีเป็นการเสริมแรง และผู้เรียนได้มีโอกาสประเมินผลตนเองท้ายบทเรียนแต่ละบทเพื่อตรวจสอบว่าเรียนรู้บทเรียนนี้ครบถ้วนหรือยัง8. ชุดการสอนหรือชุดการเรียน
หมายถึง บทเรียนที่ผลิตขึ้น โดยผสมผสานเนื้อหาความรู้กับสื่อประสมให้สอดคล้องกัน เพื่อเสนอเนื้อหาให้น่าสนใจและผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ เนื้อหาในชุดการสอนจะแบ่งเป็นหน่วย แต่ละหน่วยกำหนดจุดประสงค์ไว้ชัดเจน มีกิจกรรมให้ผู้เรียนทำเป็นขั้นตอน ค่อยเป็นค่อยไป และมีสื่อประกอบกิจกรรมต่าง ๆ หลายประเภท ทำให้ผู้เรียนเข้าใจดีขึ้นและมีทัศนคติที่ดีในการเรียน ผู้เรียนได้ประเมินผลตนเองเป็นระยะ ๆ ในกิจกรรมและท้ายบทเรียน
9. งานแปล
หมายถึง งานวิชาการที่มาจากการถอดความจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่งให้ได้ใจความตรงตามต้นฉบับจริง แล้วเรียบเรียงใจความให้สละสลวย อาจมีการตัดตอนรายละเอียดหรือขยายความบ้างตามความจำเป็น เพื่อให้สื่อความหมายแก่ผู้อ่านได้เข้าใจ แต่ต้องคงความหมายเดิมของต้นฉบับให้ตรงกัน และครบถ้วน ถ้าเป็นการแปลตำรา หนังสือ หรือเอกสารใดทั้งเล่ม ต้องมีการขอลิขสิทธิ์จากเจ้าของต้นฉบับ
10. บทความทางวิชาการ
หมายถึง เอกสารวิชาการที่เขียนในลักษณะของการเสนอความรู้เฉพาะเรื่องทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เสนอความคิดเห็นที่อ้างอิงหลักวิชา เสนอแนวคิดใหม่ ๆ เสนอแนวคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ หรือเสนอผลการศึกษาค้นคว้าเฉพาะเรื่อง บทความจะมีสาระเพียงประเด็นใดประเด็นเดียวประกอบด้วย ส่วนนำเรื่อง ส่วนเนื้อเรื่อง ความคิดเห็น การวิเคราะห์ และส่วนสรุป
11. สารคดีเชิงวิชาการ
หมายถึง เอกสารวิชาการที่เขียนอิงความจริงและให้ความรู้หรือสาระสำคัญที่น่ารู้พร้อมทั้งสาระความเพลิดเพลินร่วมด้วย สาระทางวิชาการในสารคดีเชิงวิชาการจะเกี่ยวข้องกับหลายสาขาวิชา เช่น ปรัชญา ศาสนา ดนตรี เกษตรกรรม ศิลปะ ธรรมชาติ โบราณคดี วัฒนธรรม ชีวประวัติ ประวัติศาสตร์ เป็นต้น
12. เอกสารประกอบการสอน
หมายถึง เอกสารวิชาการที่ผู้สอนวิชาใดวิชาหนึ่งเขียนและเรียบเรียงขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสอนหรือเป็นเอกสารเสริมให้ผู้เรียนได้ศึกษาเพิ่มเติม ตัวอย่างเอกสารที่ใช้เป็นแนวทางในการสอน เช่น แผนการสอนระยะยาว แผนการสอนรายคาบ เค้าโครงเนื้อหาทั้งวิชา เป็นต้น ตัวอย่างเอกสารที่จัดทำเป็นเอกสารเสริมให้ผู้เรียนได้ศึกษาเพิ่มเติม เช่น สรุปสาระของเนื้อหาวิชาพร้อมทั้งแบบฝึกหัด เป็นต้น
13. คู่มือครู
หมายถึง เอกสารที่จัดทำขึ้น เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สอนสามารถเตรียมการสอนและสอนได้ตรงตามจุดประสงค์ของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรืออาจจะเป็นคู่มือการใช้หนังสือเรียนเล่มใดเล่มหนึ่ง หรืออาจเป็นคู่มือการสอนรายวิชา
ลักษณะของเอกสารวิชาการ
- คู่มือสำหรับการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตร ในคู่มือครูจะประกอบด้วย คำแนะนำเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาหลักสูตร กำหนดเวลาสอน สาระสำคัญหรือความคิดรวบยอด หลักการ จุดประสงค์ วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน วิธีการวัดผลและประเมินผล และแบบฝึกหัด
- ถ้าเป็นคู่มือการใช้หนังสือเรียน ในคู่มือครูจะประกอบด้วย จุดประสงค์รายวิชา เนื้อหาตามหลักสูตร เนื้อหาที่เสนอแนะให้ครูเพิ่มเติมจากหนังสือเรียน วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และวิธีการวัดผลและประเมินผล
- ถ้าเป็นคู่มือการสอนรายวิชา ในคู่มือครูจะมีส่วนประกอบเหมือนกับคู่มือการใช้หนังสือเรียน แตกต่างกันเพียงแต่ว่า เนื้อหาที่เสนอแนะให้จะไม่เจาะจงเฉพาะเนื้อหาในหนังสือเรียน แต่จะเสนอแนะเนื้อหาโดยทั่วไปที่สอดคล้องกับเนื้อหารายวิชานั้นตามที่หลักสูตรกำหนด
ลักษณะของเอกสารวิชาการ คือ มุ่งให้ความรู้ และใช้ศัพท์สำนวนที่มีความหมายเชิงวิชาการ สะท้อนความคิดเห็นและแนวคิดทางวิชาการสู่ผู้อ่าน พร้อมทั้งเสนอแนะวิธีการนำความรู้และแนวคิด
ทางวิชาการเหล่านั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์
การเขียนเอกสารวิชาการจะใช้ภาษาที่เป็นทางการ เป็นการสื่อความหมายให้ผู้อ่านได้รับรู้ข้อเท็จจริง ความรู้ แนวคิด และสาระประโยชน์ ภาษาที่เป็นทางการ มีลักษณะดังนี้
เอกสารวิชาการจะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากงานเขียนอื่น ๆ ที่ไม่เป็นทางการ ดังนั้นลักษณะที่ดีของเอกสารวิชาการจึงเป็นลักษณะเฉพาะเช่นกัน ซึ่งควรมีลักษณะดังนี้
เรียบเรียง :
นางอรวรรณ ฟังเพราะ ครู ชำนาญพิเศษ กลุ่มวิชาการ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาลำปาง
อ้างอิง :
ศักดิ์ศรี ปาณะกุล และนิรมล ศตวุฒิ. (2546). การเขียนเอกสารวิชาการ. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ทางวิชาการเหล่านั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์
การเขียนเอกสารวิชาการจะใช้ภาษาที่เป็นทางการ เป็นการสื่อความหมายให้ผู้อ่านได้รับรู้ข้อเท็จจริง ความรู้ แนวคิด และสาระประโยชน์ ภาษาที่เป็นทางการ มีลักษณะดังนี้
- ใช้คำและข้อความที่สุภาพ ใช้ศัพท์บัญญัติและศัพท์ทางการ
- ใช้คำเต็ม ยกเว้นคำบางประเภท เช่น ยศทหาร หรือตำรวจ ใช้คำย่อได้
- ใช้ภาษาธรรมดา ไม่ใช้ภาษาแสลงหรือภาษาถิ่น
- เขียนรูปประโยคได้สมบูรณ์ไม่ขาดตอน
- เขียนข้อความเป็นทางการ เป็นกลาง และเคร่งขรึม
- ไม่ใช้คำแสดงอารมณ์ โต้แย้ง หรือสำนวนโวหารมาก
เอกสารวิชาการจะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากงานเขียนอื่น ๆ ที่ไม่เป็นทางการ ดังนั้นลักษณะที่ดีของเอกสารวิชาการจึงเป็นลักษณะเฉพาะเช่นกัน ซึ่งควรมีลักษณะดังนี้
- ชื่อเรื่องสื่อถึงขอบเขตเนื้อหาในเรื่องนั้นอย่างชัดเจน และครอบคลุม
- มีจุดมุ่งหมายของเรื่องอย่างชัดเจน เนื้อหาตลอดทั้งเรื่องมุ่งสู่จุดมุ่งหมาย
- เนื้อเรื่องไม่ซ้ำกับที่ผู้อื่นเคยเขียนมาแล้ว ถึงแม้ว่าประเด็นหลักจะเป็นเรื่องเดียวกัน ผู้เขียนจะต้องกำหนดจุดเน้นที่ตัวเองจะเขียน และมีเอกลักษณ์ในการเรียบเรียงเรื่องเป็นของตัวเอง
- เนื้อหามีความลึกซึ้ง มุ่งให้ความจริงและความรู้ที่ถูกต้อง ทันสมัย และมุ่งให้ผู้อ่านนำความรู้ไปใช้ได้
- เนื้อหาได้มาจากแหล่งความรู้หลากหลาย ทั้งจากการอ่าน ศึกษาค้นคว้า สังเกต และอาจสอบถามข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิ นำมาผสมผสานหลอมรวมและเพิ่มความรู้และประสบการณ์ของผู้เขียนเอง หรือเนื้อหาที่ผู้เขียนคิดเอง ความรู้ที่บรรจุอยู่ในเอกสารวิชาการจะต้องเป็นความรู้ที่คนในวงวิชาการเดียวกันรับรองแล้ว ถ้าเป็นประเด็นที่กำลังโต้แย้งกันอยู่ จะต้องกล่าวถึงข้อโต้แย้งของทุกฝ่าย ถ้าเป็นประเด็นที่ผู้เขียนคิดค้นเองก็ต้องระบุให้ชัดเจน
- การเรียบเรียงเนื้อหาที่ค้นคว้ามาต้องเรียบเรียงในลักษณะผสมผสานหลอมรวม ไม่ใช่การตัดตอนและนำมาปะติดปะต่อกัน หรือคัดลอกมาเรียงกันแล้วอ้างอิงผู้เขียนจากแหล่งอ้างอิงนั้นทีละคนสองคนเรียงเต็มไปหมด
- ใช้ศัพท์และสำนวนที่เป็นที่ยอมรับกันในวงวิชาการนั้น ๆ และใช้ศัพท์คำเดียวกันในความหมายเดียวกันอย่างคงที่ตลอดเรื่อง ศัพท์ภาษาไทยที่แปลมาจากภาษาอังกฤษจะมีการวงเล็บคำภาษาอังกฤษไว้ด้วยเมื่อกล่าวถึงในครั้งแรก
- การลำดับเรื่องควรคำนึงลำดับของเนื้อหาความรู้ จากความรู้ที่เป็นพื้นฐานไปสู่ความรู้ที่สูงขึ้นไป ไม่ได้เน้นศิลปะการเขียนเพื่อความไพเราะหรือสวยงาม
- ระบุแหล่งอ้างอิงที่ใช้ในการเขียนอย่างครบถ้วน และถูกต้องตามวิธีการอ้างอิง เพื่อผู้อ่านสามารถไปติดตามค้นคว้าเพิ่มเติมได้กว้างขวางยิ่งขึ้น และแหล่งอ้างอิงเหล่านั้นเป็นแหล่งใหม่ ๆ ที่ทันกับการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ
เรียบเรียง :
นางอรวรรณ ฟังเพราะ ครู ชำนาญพิเศษ กลุ่มวิชาการ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาลำปาง
อ้างอิง :
ศักดิ์ศรี ปาณะกุล และนิรมล ศตวุฒิ. (2546). การเขียนเอกสารวิชาการ. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.