แนวทางการเขียน
• เขียนให้สื่อความหมาย การที่ผู้เขียนจะเขียนสื่อความหมายให้ผู้รับสื่อเข้าใจความหมายได้ตรงกันนั้น ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติดังนี้
• หาข้อมูลในการเขียน
• เขียนให้สื่อความหมาย การที่ผู้เขียนจะเขียนสื่อความหมายให้ผู้รับสื่อเข้าใจความหมายได้ตรงกันนั้น ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติดังนี้
- รู้จักลำดับความคิดของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตรงกัน
- ใช้ภาษาได้ถูกต้องตามจุดมุ่งหมายของการเขียน
- ใช้ภาษาได้สละสลวย อ่านแล้วไม่รู้สึกติดขัด
- ใช้ภาษาที่เร้าความสนใจให้ติดตาม
- ใช้คำที่มีความหมายชัดเจน และใช้ข้อความที่กะทัดรัดไม่กำกวม
- เขียนข้อความได้อย่างกะทัดรัดและสมบูรณ์
• หาข้อมูลในการเขียน
- ศึกษาหลักการและทฤษฎีการเขียน
- อ่านงานเขียนของผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียน หรือนักเขียน และศึกษาวิเคราะห์งานเหล่านั้นถึงเทคนิคและวิธีการของบุคคลเหล่านั้น เทียบเคียงกับหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเขียน
- อ่านตำรา หนังสือ และเอกสารหลาย ๆ แหล่ง เพื่อรวบรวมข้อมูลสำหรับการเขียน
- สังเกตสิ่งใหม่ ๆ ที่ได้พบเห็นให้ละเอียดลึกซึ้งแล้วรวบรวมข้อมูลไว้
- ฟังมาจากหลายแหล่งที่เชื่อถือได้ เก็บข้อมูลที่เชื่อถือได้
- คิดต่อในเรื่องที่อ่าน เรื่องที่สังเกตเห็น หรือได้ฟัง จะทำให้งานเขียนสร้างสรรค์ความคิดใหม่แก่ผู้อ่าน
- ฝึกฝนเขียนอย่างจริงจัง และหาผู้ติชมให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง
ส่วนประกอบของการเขียนที่ทำให้เกิดงานเขียนที่ดี
งานเขียนที่ดีมักจะเกิดจากการจัดส่วนประกอบสำคัญของการเขียน เขียนผสมผสานกันอย่างเหมาะสม ส่วนประกอบเหล่านั้น ได้แก่- การใช้ภาษา
1.1 ระดับของภาษา: เป็นภาษาเขียนที่ดี
1.2 คำ: ใช้คำได้ตรงความหมาย เหมาะกับข้อความ กระชับ เข้าใจง่าย เหมาะกับยุคสมัย และสุภาพ
1.3 ประโยค: เรียงลำดับคำในประโยคถูกต้อง ประโยคกะทัดรัด ไม่มีคำและข้อความซ้ำซ้อนในประโยคเดียวกัน หน้าที่ของคำในประโยคถูกต้อง
1.4 สำนวนโวหาร คำพังเพย สุภาษิต: ใช้ได้ถูกต้องตามความหมาย เข้ากับเรื่องที่เขียน
1.5 วรรคตอน: แบ่งวรรคตอนถูกต้อง แยกคำถูกต้อง และใช้เครื่องหมายวรรคตอนถูกต้อง
1.6 ย่อหน้า: แต่ละย่อหน้ามีความคิดหลัก และมีความคิดที่สนับสนุนความคิดหลัก เนื้อความในย่อหน้ามีความเป็นเอกภาพ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในขณะเดียวกันมีความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อความหรือความคิดแต่ละประเด็น - เนื้อเรื่อง มีความคิดหลักของเรื่อง มีความสัมพันธ์ระหว่างย่อหน้าทั้งหมดในเรื่อง การเสนอความคิดเรียงลำดับ เป็นหมวดหมู่ ไม่สันสน มีเอกภาพของเรื่อง และมีจุดสำคัญของเรื่อง
- รูปแบบงานเขียน ต้องเขียนให้ถูกรูปแบบของประเภทการเขียนที่ตั้งใจจะเขียน หรือเขียนให้เหมาะสม เช่น ถ้าจะเขียนจดหมาย รายงานทางวิชาการ หรือรายงานการวิจัย จะต้องเขียนให้ถูกรูปแบบ แต่ถ้าจะเขียนหนังสือสำหรับเด็ก จะไม่มีรูปแบบที่แน่นอน แต่จะต้องเขียนให้เหมาะสมกับวัยของผู้อ่าน เป็นต้น
- ความถูกต้องของส่วนประกอบอื่น ๆ ความถูกต้องของส่วนประกอบอื่น ๆ ได้แก่ ตัวสะกด การันต์ การอ้างอิง รูปแบบการพิมพ์ ความชัดเจน ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ฯลฯ
หลักทั่วไปในการเขียนเอกสารวิชาการให้ประสบความสำเร็จ
สิ่งสำคัญ 5 ประการที่จะทำให้การเขียนเอกสารวิชาการประสบความสำเร็จ มีดังนี้
สิ่งสำคัญ 5 ประการที่จะทำให้การเขียนเอกสารวิชาการประสบความสำเร็จ มีดังนี้
- ประสบการณ์ในการเรียนรู้ วิธีการเขียนและกระบวนการเขียน ซึ่งจะได้มาจากการอ่านงานเขียนที่มีคุณภาพของผู้อื่นมาก ๆ วิเคราะห์ สังเกต และจดจำ
- การฝึกฝนมาก ๆ และพยายามฝึกใช้วิธีการเขียนใหม่ ๆ อยู่เสมอ
- การมีความมั่นใจในการเขียนที่จะฝ่าฟันอุปสรรคและค้นหาทัศนะที่เป็นตัวของตัวเอง ดังนี้
3.1 พัฒนาวิธีเขียนที่เป็นตัวของตัวเอง
3.2 อธิบายประโยคและข้อความที่เขียนให้ชัดเจน
3.3 ให้เทคนิคในการพัฒนาเนื้อหาและจัดลำดับเนื้อหา เช่น การเปรียบเทียบความเหมือน - การสร้างนิสัยในการเขียนเพื่อเอาชนะความกังวลและปรับปรุงการเขียนให้มีคุณภาพ ซึ่งจะทำได้ดังนี้
4.1 หาสถานที่และจัดเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตัวผู้เขียนเองที่จะทำงานเขียน เช่น สถานที่อาจจะเป็นห้องนอนของตัวเอง ในห้องสมุด ในศูนย์คอมพิวเตอร์ ในห้องที่เงียบและสะดวกสบาย เป็นต้น ส่วนเวลาที่เหมาะสมสำหรับผู้เขียนอาจเป็นเวลาเช้ามาก ๆ หลังอาหารเย็น หรือตอนดึก เป็นต้น
4.2 จัดหาเครื่องมือสำหรับการเขียนให้พร้อม เช่น ปากกา ดินสอ เครื่องคอมพิวเตอร์ ปริ้นเตอร์ กระดาษ เป็นต้น - การดำเนินการเขียนอย่างเป็นขั้นตอน โดยดำเนินการ 3 ขั้นตอน ดังนี้
5.1 ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียน โดยศึกษาข้อมูลของเรื่อง หาข้อมูลเกี่ยวกับผู้อ่าน เลือกสถานการณ์ของเรื่องที่จะเขียน กำหนดจุดมุ่งหมายของการเขียน และตัดสินใจว่าแนวของเรื่อง (tone) จะเป็นอย่างไร หลังจากนั้นจึงตัดสินใจว่าจะจัดเนื้อหาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสิ่งที่ศึกษาทั้ง 5 ประการนี้อย่างไร โดยสรุปก็คือในขั้นตอนแรกของการเขียนจะต้องมีการค้นหาข้อมูล และการเตรียมการ
5.2 ลงมือเขียนร่างแรกแล้วปรับแก้ไปมาหลาย ๆ ครั้งให้กระจ่างชัด บางครั้งผู้เขียนอาจต้องทบทวนและทำความกระจ่างชัดกับจุดมุ่งหมาย แนวของเรื่อง และเนื้อหาใหม่อีกครั้ง และในบางครั้งผู้เขียนอาจพบเนื้อหาใหม่ที่เหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย ในขั้นนี้การทบทวนจะเป็นการทำเนื้อหาให้กระจ่างชัดเจนยิ่งขึ้น
5.3 การทบทวนและปรับแก้ครั้งสุดท้าย เป็นการตรวจและเกลาคำ ตัวสะกด รูปประโยค ไวยากรณ์ เครื่องหมายวรรคตอน และการใช้ภาษา เพื่อให้การสื่อความหมายถูกต้องและชัดเจนตรงกันระหว่างผู้เขียนและผู้อ่าน
ข้อเสนอแนะสำหรับผู้เริ่มเขียนเอกสารวิชาการ
เรียบเรียง :
นางอรวรรณ ฟังเพราะ ครู ชำนาญพิเศษ กลุ่มวิชาการ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาลำปาง
อ้างอิง :
ศักดิ์ศรี ปาณะกุล และนิรมล ศตวุฒิ. (2546). การเขียนเอกสารวิชาการ. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
- อ่านให้มาก การอ่านให้มากทำให้ได้ข้อมูลและแง่คิดมาก จะทำให้มั่นใจในการเขียนมากขึ้น
- ใช้ความคิดให้มากทั้งก่อนลงมือเขียนและขณะกำลังเขียน ใช้ความคิดที่ชัดเจนทำให้เอกสารวิชาการที่เขียนมีจุดหมาย กลั่นกรองและร้อยเรียงข้อมูลต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายในข้อเขียนต่าง ๆ ให้อยู่ในโครงระบบเดียวกัน ถ้าผู้เขียนไม่ใช้ความคิดให้มากในการเขียนเอกสารวิชาการที่เขียนออกมาจะมีลักษณะเหมือนลอกข้อความจากหนังสือต่าง ๆ หลาย ๆ เล่ม มารวมไว้ด้วยกัน ขาดเอกภาพ
- เริ่มลองเขียน จะเป็นนักเขียนที่ดีได้ต้องลงมือเขียน ซึ่งอาจจะถูกบ้างผิดบ้าง ยิ่งเขียน ๆ ไปภาษาจะยิ่งดีขึ้น
- ใช้ภาษาที่สั้นกะทัดรัดและเข้าใจง่าย จุดมุ่งหมายภาษาวิชาการ คือ ความชัดเจน ตรงไปตรงมา ภาษาวิชาการควรใช้คำขยายต่าง ๆ ให้น้อยที่สุด เช่น คำขยายนาม คำขยายกริยา ทั้งนี้เพราะคำขยาย มักทำให้ข้อความมีน้ำหนักน้อยลง มักแสดงถึงความไม่แน่ใจของผู้เขียน ควรเลือกใช้คำนามและคำกริยาที่เหมาะสม เมื่อเขียนงานชิ้นหนึ่ง ๆ เสร็จแล้ว ทิ้งไว้หลาย ๆ วัน ค่อยกลับมาอ่านแล้วตัดทอนลงให้เหลือสั้นที่สุด การทำเช่นนี้จะทำให้ได้แก่นแท้แห่งองค์ความรู้ นอกจากจะใช้ภาษาที่สั้นกะทัดรัดแล้ว ควรใช้ภาษาที่ง่ายที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นการเขียนให้นักเรียน นักศึกษาอ่าน
นอกจากนี้ต้องสะกดคำให้ถูกต้อง ถ้าไม่แน่ใจให้เปิดพจนานุกรม อย่าใช้คำศัพท์ยากหรือแต่งคำศัพท์ขึ้นมาเอง พยายามเลี่ยงการใช้คำย่อ อักษรย่อ ถ้าจำเป็นให้เขียนคำเต็มก่อน แล้ววงเล็บคำย่อไว้ข้างหลัง เลี่ยงการใช้คำต่างประเทศหรือทับศัพท์ภาษาต่างประเทศหรือใช้ภาษาถิ่น และควรมีบรรณานุกรมอ้างอิงด้วย
เรียบเรียง :
นางอรวรรณ ฟังเพราะ ครู ชำนาญพิเศษ กลุ่มวิชาการ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาลำปาง
อ้างอิง :
ศักดิ์ศรี ปาณะกุล และนิรมล ศตวุฒิ. (2546). การเขียนเอกสารวิชาการ. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.