เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ เป็นเชื้อไวรัสที่ไม่เคยพบว่ามนุษย์สามารถติดเชื้อชนิดนี้ได้มาก่อน เมื่อติดเชื้อแล้วจะทำให้เกิดอาการปอดอักเสบ องค์การอนามัยโลกได้ตั้งชื่อเป็นทางการให้กับโรคที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 ว่า COVID-19 ซึ่งย่อมาจาก
• CO แทน corona
• VI แทน virus
• D แทน disease
• 19 แทน ปี 2019 (โรคติดเชื้อนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2019)
ที่มาของโรค
ขณะนี้ยังไม่มีใครทราบชัดเจนถึงแหล่งกำเนิดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ก่อนหน้านี้มีการสันนิษฐานว่า ไวรัสชนิดนี้อาจเริ่มติดต่อจากสัตว์ป่ามาสู่คน โดยมีต้นตอของการแพร่ระบาดจากงูเห่าจีน (Chinese cobra) และงูสามเหลี่ยมจีน (Chinese krait) ที่นำมาวางจำหน่ายในตลาดสดเมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นสถานที่พบผู้ติดเชื้อกลุ่มแรก ๆ
ทีมผู้วิจัยสันนิษฐานว่า งูอาจเป็นสัตว์ตัวกลางที่ส่งต่อเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จากค้างคาวมาสู่คน เนื่องจากงูพิษที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติล่าค้างคาวในถ้ำเป็นอาหาร แต่ก็ยังคงมีข้อสงสัยว่า ไวรัสโคโรนาสามารถปรับตัวให้อยู่อาศัยและขยายพันธุ์ในร่างกายของทั้งสัตว์เลือดเย็นและสัตว์เลือดอุ่นได้อย่างไร
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19
- แพร่ระบาดโดยตรง ผ่านละอองสารคัดหลั่งในระยะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ เช่น จาม ไอ หรือพูดคุย
- แพร่ระบาดโดยการสัมผัส ละอองสารคัดหลั่งที่เกาะอยู่ตามพื้นผิววัสดุ หรือเมื่อสัมผัสโดนตัวหรือจับต้องใช้งาน หลังจากนั่นนำไปสัมผัสที่ปาก จมูก หรือดวงตา จะทำให้เกิดการติดเชื้อได้
- การแพร่ระบาดโดยผ่านทางอากาศ เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมแบบปิดเป็นเวลานาน และมีปริมาณละอองของไวรัสเข้มข้นสูง ก็อาจเกิดการแพร่เชื้อได้เช่นกัน
- องค์การอนามัยโลกระบุว่า ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ จะมีอาการเริ่มแรกคือ มีไข้ ตามมาด้วยอาการไอแห้ง ๆ หลังจากนั้นราว 1 สัปดาห์จะมีปัญหาหายใจติดขัด ผู้ป่วยอาการหนักจะมีอาการปอดบวมอักเสบร่วมด้วย หากอาการรุนแรงมากอาจทำให้อวัยวะภายในล้มเหลว
- ผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19 จะมีอาการเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยจะแสดงอาการตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อย ไม่ว่าจะเป็น การคัดจมูก เจ็บคอ ไอ และมีไข้ บางรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการปอดบวมหรือหายใจลำบากร่วมด้วย บางรายก็รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
- มีไข้ (88%)
- ไอแห้งๆ (68%)
- ไม่มีเรี่ยวแรง (38%)
- ไอแบบมีเสมหะ (33%)
- หายใจลำบาก (18%)
- เจ็บคอ (14%)
- ปวดหัว (14%)
- ปวดกล้ามเนื้อ (14%)
- หนาวสั่น (11%)
- คลื่นไส้และอาเจียน (5%)
- คัดจมูก (5%)
- ท้องเสีย (4%)
- ทั้งนี้ หากมีน้ำมูกไหล ไม่ใช่อาการโควิด -19
เรียบเรียง :
นัชรี อุ่มบางตลาด ครูชำนาญการ สถาบัน กศน.ภาคเหนือ
นัชรี อุ่มบางตลาด ครูชำนาญการ สถาบัน กศน.ภาคเหนือ
อ้างอิง :
คณะกรรมการสุขภาพแห่งมณฑลหยุนหนาน, มหาวิทยาลัยกรแพทย์คุณหมิง, สถาบันการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ มณฑลหยุนหนาน. (2563). คู่มือป้องกันโรคโควิด-19. สืบค้นจาก
http://อสม.com/matters /download/752