ความรู้พิ้นฐานการภาพถ่ายบุคคล (Portrait Photography )

ภาพถ่ายบุคคล (Portrait) ภาพถ่ายของบุคคลที่สามารถแสดงออกถึงตัวเองให้ ปรากฏออกมาในรูปแบบการบันทึก ส่วนมากแสดงออกมาสายตา ท่าทาง และการสื่ออารมณ์แบบไม่ได้จำกัดเพศและวัย ความสัมพันธ์ระหว่างแบบกับช่างภาพก็มีความสำคัญที่จะทำให้แบบสื่ออารมณ์ตามที่เราต้องการ เราก็มีส่วนทำให้แสดงอารมณ์และความรู้สึกเหล่านั้นออกมาจากการพูด สร้างมนุษยสัมพันธ์กับตัวแบบดึงความเป็นตัวเองของตัวแบบออกมาให้เป็นธรรมชาติที่สุด การถ่ายภาพบุคคล สามารถนิยามอย่างง่าย ๆ ได้ว่า คือการถ่ายภาพเสมือนจริงของบุคคล โดยเฉพาะส่วนบริเวณใบหน้า แต่ในมุมมองของช่างภาพมืออาชีพแล้ว การถ่ายภาพบุคคลจะหมายถึงการถ่ายภาพบุคคลที่ไม่เพียงแต่จะบันทึกลักษณะทางกายภาพของตัวแบบ แต่รวมไปถึง อารมณ์ความรู้สึก และบุคลิกภาพของตัวแบบด้วย

ประเภทของการถ่ายภาพบุคคล
  1. Amateur Portrait คือการถ่ายภาพบุคคลในลักษณะที่ไม่เป็นทางการ มักจะเป็นในกลุ่มของญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูง
  2. Editorial Portrait คือ การถ่ายภาพบุคคลที่มีจุดประสงค์ในการนำไปตีพิมพ์ประกอบบทความในหนังสือ วารสาร หรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ
  3. Fashion portrait คือการถ่ายภาพบุคคลที่มีจุดประสงค์ในการนำเสนอ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับบนตัวแบบ การถ่ายภาพแบบนี ้จะต่างจากการถ่ายภาพบุคคลแบบอื่น ๆ ตรงที่จะไม่เน้นความสำคัญไปที่ตัวแบบ แต่จะเน้นไปที่เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย หรือเครี่องประดับที่ต้องการนำเสนอ
  4. Studio portrait คือการถ่ายภาพบุคคลที่จัดขึ้นภายในสตูดิโอ โดยมีการ ควบคุมแสง และสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี
  5. Location portrait คือการถ่ายภาพบุคคลที่จัดขึ้นแบบ outdoor
  6. Environmental portrait คือการถ่ายภาพบุคคลที่โดยมากจะจัดขึ้นแบบ outdoor แต่จะมีลักษณะพิเศษตรงที่ในการถ่ายภาพแบบนี้ สิ่งแวดล้อม หรือสถานที่ที่จัดการถ่ายภาพจะมีส่วนสำคัญในการนำเสนอตัวแบบ



“Afghan Girl”
ภาพถ่ายบุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าดีที่สุด สร้างความจดจำมากที่สุด
ถ่ายภาพโดย Steve McCurry ช่างภาพอิสระ ชาวอเมริกัน ผู้สร้างผลงานการถ่ายภาพมากมายให้กับนิตยสาร National Geographic ภาพนี้ขึ้นหน้าปกนิตยสาร National Geographic ในปี ค.ศ 1985 (พ.ศ 2528)

เทคนิคง่าย ๆ ของการถ่ายภาพบุคคล (Portrait)

1. โฟกัสที่ตา เนื่องจากดวงตานั้นเป็นส่วนสำคัญที่สุดในภาพ เนื่องจากเป็นสิ่งที่บ่งบอกและแสดงถึงอารมณ์ของภาพ “ดวงตานั้นเป็นหน้าต่างของหัวใจ ”


2. อย่าตัดบริเวณข้อต่อของร่างกาย การจัดองค์ประกอบภาพนั้นอย่าตัดกรอบภาพบริเวณข้อต่อของร่างกาย ซึ่งได้แก่ คอ ข้อศอก ข้อมือ เอว หัวเข่า ข้อเท้า  เนื่องจากจะทำให้อารมณ์ภาพนั้นดูไม่ดี 

3. สื่อสารกับตัวแบบของคุณให้ชัดเจน อย่าทำให้ตัวแบบเรามีความเครียดอย่างเด็ดขาด เพราะว่าจะทำ ให้ไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ที่เป็นธรรมชาติออกมาได้ สื่อสารให้ตรงกันว่าอยากได้อารมณ์ไหน

4. ปล่อยให้เขาเป็นในแบบที่เขาเป็น ต้องถ่ายภาพเพื่อสื่อความเป็นตัวตน ของคน ๆ นั้นออกมา บางครั้งเราอาจต้องพูดคุยไปถ่ายไปและคอยจับกริยาท่าทางของเขา และก็ค่อย ๆ ถ่ายไป แน่นอนครับในหลาย ๆครั้ง เราต้องรอจับจังหวะถ่ายเอาเอง เพราะการจะบอกให้เขาทำท่าตามที่เราต้องการนั้น บางครั้งจะทำให้เขาเกร็งได้ครับ


5. Window light หนึ่งเทคนิคที่สามารถใช้งานได้ง่ายคือการใช้งานแสงที่เข้ามาเพียงด้านเดียว ซึ่งจะเรียกว่า Window light เทคนิคนี้ใช้งานไม่ยาก และสร้างความแตกต่างในภาพได้ดี 

6. ถ่ายภาพย้อนแสง การถ่ายภาพบุคคลย้อนแสงนั้นมีสิ่งที่ซ่อนอยู่ โดยเราจะได้ประกายของเส้นผมเกิดขึ้นจากการถ่ายภาพย้อนแสง

7. การถ่ายภาพบุคคลร่วมกับทิวทัศน์ โดยให้เราทำการวางคนไว้ด้านซ้ายหรือด้านขวาภาพ ตามกฎของจุดตัด 9 ช่อง จะทำให้สามารถเก็บภาพของทิวทัศน์เบื้องหลังและภาพของตัวแบบเอาไว้ได้โดยไม่มีปัญหาใด ๆ


เรียบเรียง / ภาพประกอบ :
นายสราวุธ เบี้ยจรัส  นักวิชาการโสตทัศนศึกษา สถาบัน กศน. ภาคเหนือ


อ้างอิง :
Tong Fotoman. (2554, 19 เมษายน April). 7 เทคนิคง่ายๆของการถ่ายภาพบุคคล (Portrait). สืบค้นจาก https://www.facebook.com/notes/tong-fotoman/7-เทคนิคง่ายๆของการถ่ายภาพบุคคล-portrait-/213774198634575/