การถ่ายภาพมาจากภาษาอังกฤษว่า “Photography” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ “Phos” และ “Graphein” คำว่า “Phos” หมายถึง แสงสว่าง และ “Graphein” หมายถึง การเขียน เมื่อรวมคำทั้งสองแล้วจึงมีความหมายว่า การเขียนด้วยแสงสว่าง
หลักการทำงานของกล้องถ่ายภาพ
หลักการบันทึกภาพของกล้อง อาศัยหลักการเดียวกันกับการมองเห็นของนัยน์ตามนุษย์ นั่นคือการรับภาพจากแสงที่สะท้อนวัตถุมายังเซนเซอร์รับภาพ โดยมีกลีบม่านหรือไดอะแฟรมในตัวเลนส์์ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณแสงผ่าน “รูรับแสง (Aperture)” และ “ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed)” แสงสีต่าง ๆ จะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าและเปลี่ยนเป็นสัญญาณภาพในรหัสดิจิทัล เพื่อส่งผ่านไปเก็บบันทึกไว้ในหน่วยความจำ
ประเภทของกล้อง
ประเภทของกล้องเฉพาะที่ใช้กันแพร่หลายก็มีอยู่ 5 ประเภทครับ1. กล้องคอมแพค (Compact)
- กล้องคอมแพคทั่วไป ซึ่งมีขนาดเล็กกะทัดรัด ไม่สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ ใช้งานง่ายส่วนใหญ่ จะมีโหมดสำเร็จรูปมาให้เป็นระบบอัตโนมัติทั้งหมด สีสัน ดีไซน์สวย เช่น Nikon CoolPix A100 ,Canon Ixus190, Fujifilm FinePix XP-120 ราคาไม่แพง ไม่ถึงหมื่น
- กล้องคอมแพคคุณภาพสูง (ไฮเอนด์) มีเซ็นเซอร์ขนาดใหญ่กว่า จะได้คุณภาพของไฟล์ภาพที่ดีกว่าคอมแพคด้วยกันและดีกว่ามือถือ เพราะเซ็นเซอร์มีขนาด 1 นิ้ว ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าเซ็นเซอร์คอมแพคทั่วไปหลายเท่าตัว เช่น กล้อง Canon PowerShot G7X Mark II กล้อง Sony Cybershot RX100 Mark IV และยังมีฟังก์ชันปรับตั้งกล้องได้เหมือนกล้องใหญ่กันเลยทีเดียว ราคาก็จะเริ่มประมาณหมื่นกลาง ๆ ขึ้นไป
2. กล้องดิจิตอลชนิดสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (DSLR - Digital Single Lens Reflex)
เป็นกล้องที่สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ มองผ่านเลนส์ มีกระจกสะท้อนภาพ มีช่องมองภาพแบบออพติคอลได้ตรงตามที่เห็น และก็ยังสามารถมองที่จอ LCD ได้ โดยเป็นการมองเห็นจากสถานการณ์จริง หลัก ๆ กล้อง DSLR จะมีเซ็นเซอร์อยู่ 2 ขนาด คือ full frame และ APS-C Fullframe จะมีขนาดเซ็นเซอร์ใหญ่มาจากฟอร์แมทฟิลม์ 35 มม. ส่วน APS-C ที่เราเรียกว่ากล้องตัวคูณ คูณเพื่อให้เท่าขนาดของ Full frame ซึ่งเซ็นเซอร์ใหญ่ก็จะได้เปรียบเรื่องของไฟล์ภาพที่ทีคุณภาพมากกว่า ราคาก็จะเริ่มต้นที่ 5 หมื่นบาทขึ้นไป ส่วน APS-C เริ่มต้นประมาณหมื่นปลาย ๆ
กล้องดิจิทัลที่มีรูปทรงคล้าย DSLR แต่มีขนาดเล็กกว่า ปรับตั้งค่ากล้องเหมือน DSLR เพียงแต่ถอดเปลี่ยนเลนส์ไม่ได้ แต่มีขนาดซูมมากที่ติดมาพร้อมตัวกล้อง และยังมีเซ็นเซอร์ขนาดเท่ากับกล้อง Compact ทั่วไป เหมาะสำหรับคนเพิ่งเริ่มเล่นกล้องและไม่อยากพกอะไรมาก ตัวเดียวจบเที่ยวทั่วไทยได้เลย ราคาเริ่มต้น ประมาณหมื่นกลาง ๆ
(ไม่มีกระจกสะท้อนภาพ) กล้องที่เอากระจกสะท้อนภาพออก ซึ่งไม่มีช่องมองภาพ หรือบ้างรุ่นที่มีช่องมองภาพ ไม่ได้มองผ่านเลนส์ เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์วิวไฟน์เดอร์ หลัก ๆ เซ็นเซอร์ที่ใช้มี 3 ขนาด Full frame ,APS-C ,4/3 (four thirds) ณ ปัจจุบัน ต้องยอมรับว่ากระแสกล้องมิลเลอร์เลสได้รับความสนใจจากกลุ่มนักถ่ายภาพมาก เพราะขนาดเล็กลง น้ำหนักเบาขึ้น อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ก็เล็กลง ทำให้การถือไปถ่ายภาพสะดวก และยังคงได้ภาพเหมือนกับกล้องใหญ่ ราคาเริ่มต้นหมื่นกลางๆ
5. Medium Format
เป็นกล้องที่ใมีเซ็นเซอร์ขนาดใหญ่มาก ๆ มักใช้งานในระดับมืออาชีพ เพื่อการถ่ายภาพที่ต้องการคุณภาพของไฟล์ภาพสูงสุด และแน่นอนว่ากล้องประเภทนี้ก็จะมีราคาค่าตัวที่สูงมาก ๆ ด้วยเช่นกัน ดังนั้นกล้อง Medium Format จึงถูกใช้งานอยู่ในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาเสียเป็นส่วนใหญ่
5. Medium Format
เป็นกล้องที่ใมีเซ็นเซอร์ขนาดใหญ่มาก ๆ มักใช้งานในระดับมืออาชีพ เพื่อการถ่ายภาพที่ต้องการคุณภาพของไฟล์ภาพสูงสุด และแน่นอนว่ากล้องประเภทนี้ก็จะมีราคาค่าตัวที่สูงมาก ๆ ด้วยเช่นกัน ดังนั้นกล้อง Medium Format จึงถูกใช้งานอยู่ในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาเสียเป็นส่วนใหญ่
กล้องถ่ายรูปแบบ DSLR
ในที่นี้จะขอพูดถึงกล้องถ่ายรูปแบบ DSLR จะมีระดับของกล้องอยู่ ซึ่งระดับของกล้องจะเป็นบ่งบอกเราได้ว่าฟังก์ชั่นภายในหรือความสามารถของกล้องนั้น มีอะไรบ้าง และอยู่ในระดับใด โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ1. Entry Level (กล้องตัวคูณ)
เป็นกล้อง DSLR ระดับล่างสุด ฟังก์ชั่นการใช้งานของกล้องบ้างยี่ห้อจะให้ลูกเล่นหรือฟังก์ชั่นมาในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ก็ใช่ว่าจะไม่ดีนะครับ ถึงแม้ว่ามันจะเป็นกล้องระดับล่าง แต่คุณภาพของภาพถ่ายที่ได้ออกมานั้นก็ไม่ได้ด้อยเลยแม้แต่น้อย เอาเป็นว่ากล้อง Compact ระดับสูงๆ ก็ไม่อาจจะเทียบเท่าได้
- กล้องตัวนี้เหมาะกับใคร : ถึงแม้ว่ามันจะเป็นกล้องระดับ Entry :Level นั้น แต่มันก็ให้ความรู้สึกของ DSLR อย่างเต็มเปี่ยม หากท่านกำลังมองหากล้อง DSLR ตัวแรกเพื่อทดสอบใจตัวเองว่าเราจะชอบการถ่ายรูปด้วยกล้องชนิดนี้มากน้อยแค่ไหน ก็ถือว่ากล้องระดับนี้ก็เป็นตัวเลือกที่ดี
- ข้อดี : ราคาถูกที่สุดในกล้องประเภท DSLR ครับ
- ข้อเสีย : วัสดุที่ดูจะบอบบาง ไม่คงทน เนื่องจากส่วนใหญ่จะเป็นพลาสติกขึ้นรูป
2. Semi-Pro Level (กล้องตัวคูณ)
กล้องในระดับนี้ถือว่าเป็นกล้องในระดับกลาง สูงกว่ากล้องระดับ Entry Level อยู่หน่อยนึงครับ โดยทั่วไปแล้วกล้องระดับนี้จะเป็นกล้องที่สามารถใช้ทำงานด้านการถ่ายภาพได้ครบถ้วน ฟังก์ชั่นที่ให้มานั้นอยู่ในระดับที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมืออาชีพ ความคมชัด ความสะดวกของฟังก์ชั่นที่ให้มา อยู่ในเกณฑ์ที่ดีครับ
- กล้องตัวนี้เหมาะกับใคร : แน่นอนว่ากล้องระดับนี้ผู้ที่ตัดสินใจจะซื้อได้นั้น คงจะพอรู้ตัวเองแล้วว่าเราชอบในการถ่ายภาพ และอาจจะทำให้กล้องระดับ Entry Level นั้นตอบสนองเราในบางเรื่องไม่ได้ กล้องในระดับก็ควรจะเหมาะสำหรับคนที่รู้ตัวเองแล้วว่าชอบถ่ายภาพ หรือสำหรับออกงานถ่ายภาพที่เป็นงานแบบไม่ใหญ่มาก อย่างเช่น งานรับปริญญา หรืองานแต่งงานครับ
- ข้อดี : คุณภาพของวัสดุที่ดีกว่าระดับ Entry Level ฟังก์ชั่นการใช้งานครบถ้วน
- ข้อเสีย : ด้วยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอาจจะเพราะวัสดุหรืออุปกรณ์ภายในที่เพิ่มมากขึ้น อาจจะทำให้พกพาได้ลำบากมากขึ้น
พูดถึงกล้องระดับนี้ทีไร พวกเราชาวนักถ่ายภาพงบน้อยก็ได้แต่ถอนหายใจกันเป็นแถว ๆ เนื่องด้วยราคาของมันที่แสนจะโหดร้าย แต่ด้วยคุณภาพและความคล้องตัวนั้นได้ถูกใส่มาอย่างเต็มที่ กล้องในระดับนี้ชื่อก็บอกอยู่แล้วนะครับว่าสำหรับ Pro เท่านั้น เนื่องจากเป็นกล้องที่มีประสิทธิภาพสูงมาก สามารถถ่ายแบบรัวๆ ได้ อีกทั้งเซ็นเซอร์ภาพนั้นมีขนาดใหญ่ทำให้ภาพที่ได้นั้นคมชัดมาก
- กล้องตัวนี้เหมาะกับใคร : กล้องระดับนี้เป็นกล้องที่ใช้สำหรับการทำงานโดยแท้จริง ซึ่งหากท่านเป็นช่างภาพที่ต้องการภาพคุณภาพสูง แน่นอนว่ากล้องระดับนี้สามารถสร้างสรรค์ภาพให้คุณได้อย่างไม่ยากเย็นนัก กล้องระดับนี้เราจะเห็นได้ตามขอบสนามฟุตบอล
- ข้อดี : มีความคล่องตัวสูง สามารถปรับค่าต่างๆ ได้อย่างอิสระและมีประสิทธิภาพในการถ่ายสูงมากที่สุด
- ข้อเสีย : แน่นอนว่าความยืนหยุ่นจะต้องแลกด้วยความซับซ้อนอย่างแน่นอน แต่ก็ไม่เชิงว่าจะเป็นข้อเสียซ๊ะทีเดียวนะครับ ผมว่าเมื่อใช้คล่องแล้ว ก็ไม่มีอะไรซับซ้อนอีกต่อไปครับ
เรียบเรียง :
สราวุธ เบี้ยจรัส นักวิชาการโสตทัศนศึกษา สถาบัน กศน. ภาคเหนือ
อ้างอิง :