ประเภทของเลนส์
1. เลนส์ฟิกซ์ (Fix Lens)
คือ เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสระยะเดียว ไม่สามารถที่จะทำการปรับเปลี่ยนมุมมองระยะรับภาพ หรือไม่สามารถซูมเข้าออกได้เลย ซึ่งอาจจะเป็นเลนส์มุมกว้าง (Wide Angle Lens) 28 mm เลนส์มาตรฐาน (Standard Lens) 50 mm หรือเลนส์ถ่ายภาพระยะไกล (TelePhoto Lens) 200 mm ก็ได้ เลนส์ฟิกซ์จะประกอบด้วยชิ้นเลนส์น้อย น้ำหนักเบา ให้ภาพคมชัด แต่ไม่สามารถซูมได้ ต้องใช้การเคลื่อนที่ร่างกายหรือเดินเพื่อหาองค์ประกอบที่ต้องการเอง
คือ เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสระยะเดียว ไม่สามารถที่จะทำการปรับเปลี่ยนมุมมองระยะรับภาพ หรือไม่สามารถซูมเข้าออกได้เลย ซึ่งอาจจะเป็นเลนส์มุมกว้าง (Wide Angle Lens) 28 mm เลนส์มาตรฐาน (Standard Lens) 50 mm หรือเลนส์ถ่ายภาพระยะไกล (TelePhoto Lens) 200 mm ก็ได้ เลนส์ฟิกซ์จะประกอบด้วยชิ้นเลนส์น้อย น้ำหนักเบา ให้ภาพคมชัด แต่ไม่สามารถซูมได้ ต้องใช้การเคลื่อนที่ร่างกายหรือเดินเพื่อหาองค์ประกอบที่ต้องการเอง
2. เลนส์ซูม (Zoom Lens)
เป็นเลนส์ที่สามารถเปลี่ยนความยาวโฟกัสได้หลายค่าในตัวเดียวกัน คือ เป็นทั้งเลนส์มุมกว้าง เลนส์มาตรฐาน และเลนส์ถ่ายไกล เลนส์ซูมบางตัวรวมทุกช่วงไว้ในตัวเดียวกันก็มี เราเรียกว่าเลนส์อเนประสงค์ หรือต้องการซูมแค่ช่วงไวด์ถึงมาตรฐานก็ได้ หรือ มาตรฐานหรือเทเลโฟโต้ก็มี เช่น ระยะ 16-35 mm 24-70 mm 70-200 mm และ 18-200 mm เป็นต้น เลนส์ซูมมีสะดวกในการถ่ายภาพ เนื้อจากมีหลายช่วงการโฟกัสให้ถ่ายภาพที่เราต้องการ โดยที่คนภาพยืนอยู่ที่เดิม แล้วใช้การซูมจากกระบอกเลนส์เอา แต่ชิ้นเลนส์ค่อนข้างเยอะ ทำให้มีน้ำหนักมาก
ประเภทของเลนส์ แบ่งตามทางยาวระยะโฟกัส
หลังจากรู้ประเภทของเลนส์กันไปแล้วมาดู การแบ่งทางยาวโฟกัสของเลนส์ ว่าแต่ละช่วงเค้าเรียกอย่างไรบ้างและตัวเลนส์ที่เราเห็นที่ตัวเลนส์หมายถึงอะไร มีดังต่อไปนี้
1. เลนส์มาตรฐาน (Standard Lens)
เป็นช่วงทางยาวระยะโฟกัสปกติ ที่มีความใกล้เคียงกับมองของสายตามนุษย์ ความผิดเพี้ยนของภาพจะมีน้อย จะมีการโฟกัสอยู่ที่ระยะ50มม. โดย50มม. ยึดถือฟอร์แมทแบบฟลูเฟรมเป็นหลัก ถ้าหากเราต้องการถ่ายภาพ ให้มีความใกล้เคียงกับที่เรามองเห็น ก็จะมีเลนส์50มม. ติดไว้ถ่ายบุคคลกัน
2. เลนส์มุมกว้าง (Wide Angle Lens)
ระยะทางยาวโฟกัสที่น้อยกว่า 50 มม. ลงมา เรื่อย ๆ ยิ่งตัวเลขทางยาวโฟกัสน้อย มุมรับภาพก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นหรือกว้างขึ้นนั่นเอง เช่น 10-18 มม. 10-24 มม. 10-22 มม. ส่วนใหญ่จะนำไปถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ เพราะจะได้ภาพวิวที่อลังการ
3. เลนส์ระยะไกล หรือ เทเลโฟโต้เลนส์ (Telephoto Lens)
เลนส์ช่วงนี้จะมีมุมรับภาพที่แคบมาก ยิ่งตัวเลขมากกว่า50มม. มากขึ้นไปเรื่อยๆยิ่งตัวเลขเยอะ จะทำให้มุมรับภาพแคบขึ้น จะได้ภาพที่ใกล้วัตถุมากขึ้น เช่น 70-200 มม. 70-300 มม. 100-400 มม. เลนส์ช่วงนี้เรียกสั้น ๆ ว่า เลนส์เทเล ส่วนใหญ่จะใช้ถ่ายภาพนก ภาพการแข่งขันกีฬา หรืออื่นๆ
4. เลนส์มาโคร (Macro Lens)
ลักษณะชิ้นเลนส์คล้ายแว่นขยาย ซึ่งคุณสมบัติของเลนส์มาโครคือ อัตราขยายที่เท่ากับวัตถุจริงเมื่อภาพลงบนเซ็นเซอร์ คือ 1:1 หรือบางตัวมีความสามารถขยายได้เกินวัตถุจริง เป็น 1:5 เลยก็มีเลนส์มาโครสามารถเข้าใกล้วัตถุได้มากกว่าเลนส์ปกติ เราจะนำไปถ่าย สิ่งของต่างๆที่มีขนาดเล็ก และให้ใหญ่ขึ้นเพื่อมองเห็นชัดๆ หรือแม้แต่กระทั่งแมลงเองเราก็นิยมเอาเลนส์มาโครไปถ่าย เช่น 60 มม. 100 มม.
5. เลนส์ฟิชอาย (Fisheye Lens)
หรือที่เราเรียกกันว่า เลนส์ตาปลา เนื่องจากเลนส์ด้านหน้าจะมีความนูนโค้งมากกว่าปกติ ทำให้ภาพที่ได้ จะมีความแปลกตาไป เช่น 8 มม. 10.5 มม. ภาพที่ได้จะมีความกว้างถึง180องศา ส่วนใหญ่ไว้ถ่ายภาพที่มีความกว้างมากๆในสถานที่แคบๆ เช่นถ่ายสนามบอลให้ดูอลังการ หรือ ถ่ายภาพคนให้ดูแปลกตาออกไปจากเดิม
เลนส์แต่ละแบบ และแต่ละช่วงทางยาวโฟกัส ได้มีออกมาวางจำหน่ายหลากหลายแบบ แม้กระทั่งในมือถือยังนำเลนส์ไปใส่ไว้ ที่นี้เราก็ดูว่าใส่เลนส์ช่วงไหนเข้าไป และจะทำให้ภาพเป็นแบบไหน เราก็จะเข้าใจเพิ่มมากขึ้นสามารถนำไปถ่ายอะไรก็ได้อย่างที่เราต้องการไม่ได้จำกัดจินตนาการไว้ แต่เราควรเข้าใจพื้นฐานของลักษณะเลนส์ก่อน เมื่อเวลานำไปใช้จะได้เกิดประโยชน์ต้องการจริง ๆ
เรียบเรียง / ภาพประกอบ :
นายสราวุธ เบี้ยจรัส นักวิชาการโสตทัศนศึกษา สถาบัน กศน. ภาคเหนือ
อ้างอิง :