• โรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นโรคที่คนไทยป่วยมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง
และพบมากในกลุ่มอายุ 40 ปีขึ้นไป และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเมื่ออายุมากขึ้น หลอดเลือดหัวใจจะเสื่อมสภาพ
เนื่องจากมีคอเลสเตอรอลสะสมเป็นเวลานาน ส่งผลให้หลอดเลือดแดงตีบแคบ หรืออุดตัน
ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และทำให้เสียชีวิตกะทันหันได้
ภาพจาก : https://www.posttoday.com/life/healthy/563110
ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ เพิ่มผักและผลไม้ปริมาณมากขึ้น เพื่อเพิ่มเส้นใยอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระ
- ควบคุมน้ำหนักตัวและดัชนีมวลร่างกายไม่ให้เกินค่ามาตรฐาน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยเลือกการออกกำลังกายที่ไม่ใช้แรง เช่น การเดิน การฝึกโยคะ การรำมวยจีน โดยฝึกให้ต่อเนื่อง 30 นาที อย่างน้อยวันเว้นวัน
- ลดความเครียด เช่น การทำสมาธิ การพบปะผู้คน การเข้ากลุ่มพูดคุยเพื่อปรึกษาและให้กำลังใจ
- หลีกเลี่ยงจากปัจจัยเสี่ยงอื่น เช่น การสูบบุหรี่และดื่มเหล้า
• โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตที่หลายคนรู้จักนั้น ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตและพิการกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งความผิดปกติของหลอดเลือดสมองที่ทำให้สมองขาดเลือดแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน และหลอดเลือดสมองแตกอาการโรคหลอดเลือดสมอง ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้า หรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก ปวดศีรษะ เวียนศีรษะทันทีทันใด ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก หรือตาบอดข้างเดียวทันทีทันใด เดินเซ ทรงตัวลำบาก ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หรืออาจทำให้กลายเป็นโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
• โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นโรคที่เซลล์ร่างกายมีความผิดปกติในขบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน ส่งผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เมื่อน้ำตาลไม่ได้ถูกใช้ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าระดับปกติ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้เป็นโรคหลอดเลือดสมอง
- ควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ควบคุมน้ำหนัก ความดันโลหิต ระดับน้ำตาล และไขมันในเลือด
- หยุดสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์
- ควบคุมภาวะแทรกซ้อน ในรายที่กลืนไม่ได้อาจได้รับการใส่สายยางให้อาหารเพื่อป้องกันการสำลัก เกิดโรคปอดอักเสบ
- รับประทานยาต้านเกล็ดเลือดตามแผนการรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำในภาวะหลอดเลือดสมองตีบ
- ห้ามหยุดหรือปรับยาเอง สังเกตผลข้างเคียงของยา เช่น มีจุดจ้ำเลือด เลือดออก ให้พบแพทย์ผู้รักษา
- กายภาพบำบัดตามคำแนะนำ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- หากมีความจำเป็นต้องได้รับการทำฟัน การผ่าตัด ต้องแจ้งให้แพทย์ผู้รักษาทราบ
- สังเกตพบอาการผิดปกติทางสมอง เช่น ซึมลง แขนขาอ่อนแรงมากขึ้น พูดไม่ชัด ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
- เข้ารับการตรวจตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ
โรคเบาหวานเป็นโรคที่เซลล์ร่างกายมีความผิดปกติในขบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน ส่งผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เมื่อน้ำตาลไม่ได้ถูกใช้ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าระดับปกติ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
อาการของโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะตอนกลางคืน หิวน้ำบ่อย หิวบ่อย รับประทานจุ แต่น้ำหนักลด ผิวแห้ง เป็นแผลแล้วหายยาก ตาพร่ามัว ชาบริเวณปลายมือปลายเท้า หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้เป็นโรคเบาหวาน
- ดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น ชั่วโมงละครึ่งถึงหนึ่งแก้ว (ถ้าไม่มีข้อห้าม เช่น โรคหัวใจ โรคไต) เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ และช่วยขับน้ำตาลส่วนเกินและคีโตนไปทางปัสสาวะ
- กินอาหารคาร์โบไฮเดรตให้เพียงพอ หากไม่สามารถรับประทานอาหารปกติได้
- รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก น้ำข้าวผสมเกลือเล็กน้อย แครกเกอร์ ขนมปัง โยเกิร์ต นมหรือน้ำเต้าหู้
- อย่าหยุดยาด้วยตนเอง ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องการซื้อยานอกโรงพยาบาล ควรแจ้งประวัติโรคประจำตัวและรายชื่อยาที่ใช้อยู่แก่เภสัชกรหรือแพทย์ทุกครั้ง
- ควรงดออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ
- อาการที่ควรมาโรงพยาบาล ได้แก่ มีไข้ 2 วันแล้วยังไม่ทุเลา หรือมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง รับประทานอาหารไม่ได้เลย นานกว่า 6 ชั่วโมง
- ตรวจพบคีโตนในปัสสาวะ มีอาการของภาวะขาดน้ำ เช่น ริมฝีปากแห้งแตก หรืออาการหอบเหนื่อย แน่นหน้าอก หายใจมีกลิ่นผลไม้ และสิ่งที่ผู้ป่วยต้องเตรียมข้อมูลเมื่อมาพบแพทย์ คือ รายชื่อยา อาการเจ็บป่วย ปริมาณอาหารที่กินได้ น้ำหนักตัวปกติ และระดับน้ำตาลในเลือดช่วงเจ็บป่วย เพื่อให้แพทย์วินิจฉัย
• โรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง คือ
ภาวะที่มีระดับความดันโลหิตสูงเรื้อรัง มีค่าตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป
ซึ่งคนปกติจะมีค่าความดันโลหิตประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท
และหลายคนอาจไม่ทราบว่าตัวเองมีภาวะความดันโลหิต
เพราะเป็นโรคที่ไม่ค่อยปรากฏอาการที่ชัดเจนในช่วงแรก
อาการของโรคความดันโลหิตสูง จะมีอาการปวดหัว หรือเวียนหัว เหนื่อยง่าย อาจมีอาการของโรคแทรกซ้อน
เช่น อัมพาต หรือ มีภาวะหัวใจวาย ดังนั้น บุคคลทั่วไปควรเช็คความดันเมื่อมีโอกาส
เพราะอาจมีความดันสูงโดยไม่มีอาการเลยก็ได้
ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง
- ควบคุมอาหาร โดยลดน้ำหนัก งดอาหารทอด หลีกเลี่ยงการใช้เนย หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา กาแฟรับประทานอาหารประเภทถั่ว และผักให้มากขึ้น
- หลีกเลี่ยงอาหารที่เค็มจัด อาหารประเภทดองเค็ม เนื้อเค็ม หรือซุปกระป๋อง
- หยุดสูบบุหรี่ ลด หรืองดการดื่มแอลกอฮอร์
- หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอารมณ์เครียด
- ออกกำลังกายแต่พอประมาณ
- ตรวจวัดความดันสม่ำเสมอ
- ทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง
• โรคข้อเข่าเสื่อม
โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในผู้สูงอายุ ซึ่งมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุอย่างมาก จะพบในตำแหน่งของข้อที่รับน้ำหนักมาก คือ ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อต่อกระดูกสันหลัง อาดทำให้เจ็บขณะเคลื่อนไหวหรือใช้งาน สาเหตุเกิดจากการใช้งานของอวัยวะนั้นเป็นเวลานานและหนัก เมื่ออายุมากก็ทำให้เกิดอาการของโรคนี้ได้อาการโรคข้อเข่าเสื่อม จะปวด บวมที่ข้อเข่า ข้อฝืด หรือตึงข้อขณะเคลื่อนไหว ความสามารถในการใช้งานข้อเข่าลดลง หากมีอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์ เพราะถ้าปล่อยไว้อาจทำให้เจ็บปวดเรื้อรัง ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้
ภาพจาก : https://www.eldertrend.com/
ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
- ลดน้ำหนัก เพราะเมื่อเดินจะมีแรงกดลงที่เข่าประมาณ 5 เท่าของน้ำหนักตัว แต่ถ้าวิ่งจะมีแรงกดลงที่เข่า เพิ่มขึ้นเป็น 7 -10 เท่าของน้ำหนักตัว ถ้าลดน้ำหนักตัวได้ เข่าก็จะรับแรงกดน้อยลง ทำให้เข่าเสื่อมช้าลงและอาการปวดก็จะลดลงด้วย
- การนั่ง ควรนั่งบนเก้าอี้สูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาแล้วฝ่าเท้าจะวางราบกับพื้นพอดี ไม่ควรนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือนั่งราบบนพื้น เพราะจะทำให้ผิวข้อเข่าเสื่อมเร็วมากขึ้น
- ควรนั่งถ่ายบนโถนั่งชักโครก หรือนั่งบนเก้าอี้สามขาที่มีรูตรงกลาง วางไว้เหนือคอห่าน ควรทำที่จับยึดบริเวณด้านข้างโถนั่ง เพื่อใช้จับพยุงตัวเวลาจะลงนั่งหรือจะลุกขึ้นยืน ไม่ควรนั่งยอง ๆ เพราะผิวข้อเข่าเสียดสีกันมาก และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงขาถูกกดทับ ทำให้เลือดไปเลี้ยงขาได้ไม่ดี
- นอนบนเตียง ซึ่งมีความสูงระดับเข่า เมื่อนั่งห้อยขาที่ขอบเตียงแล้วฝ่าเท้าจะแตะพื้นพอดี ไม่ควรนอนราบบนพื้นเพราะต้องงอเข่าเวลาจะนอนหรือจะลุกขึ้น ทำให้ผิวข้อเสียดสีกันมากขึ้น ข้อก็จะเสื่อมเร็วขึ้น
- หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได เพราะขณะขึ้นลงบันได จะมีแรงกดที่เข่าประมาณ 3 เท่าของน้ำหนักตัว
- หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งในท่าเดียวนาน ๆ ถ้าจำเป็นก็ให้ขยับเปลี่ยนท่า หรือเหยียด-งอข้อเข่าบ่อย ๆ
- การยืน ควรยืนตรง ขากางออกเล็กน้อย ให้น้ำหนักตัวลงบนขาทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน ไม่ควรยืนเอียงลงน้ำหนักตัวบนขาข้างใดข้างหนึ่ง เพราะจะทำให้เข่าที่รับน้ำหนักมากกว่าเกิดอาการปวดได้
- การเดิน ควรเดินบนพื้นราบ ไม่ควรเดินบนพื้นที่ไม่เสมอกัน เช่น บันได ทางลาดเอียงที่ชันมาก หรือ ทางเดินที่ขรุขระ เพราะทำให้น้ำหนักตัวที่ลงไปที่เข่าเพิ่มมากขึ้น และอาจจะเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย ควรใส่รองเท้าแบบมีส้นเตี้ย (สูงไม่เกิน 1 นิ้ว) หรือไม่มีส้นรองเท้า พื้นรองเท้านุ่มพอสมควร และมีขนาดกระชับพอดี
- ใช้ไม้เท้า โดยเฉพาะผู้ที่ปวดมากหรือข้อเข่าโก่งผิดรูป เพื่อช่วยรับน้ำหนัก และช่วยพยุงตัวเมื่อจะล้ม วิธีถือไม้เท้า ในผู้ที่ปวดเข่ามากข้างเดียว ให้ถือในด้านตรงข้ามกับเข่าที่ปวด แต่ถ้าปวดทั้งสองข้างให้ถือในข้างที่ถนัด
- บริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าให้แข็งแรง ซึ่งจะช่วยลดอาการปวด ทำให้การทรงตัวดีขึ้น
- ถ้ามีอาการปวดให้พักการใช้ข้อเข่า และประคบด้วยความเย็น/ความร้อน หรือใช้ยานวดร่วมด้วยก็ได้
เรียบเรียง :
นางณิชากร เมตาภรณ์ ครู สถาบัน กศน. ภาคเหนือ
อ้างอิง :
สถาบัน กศน.ภาคตะวันออก. (ม.ป.ป.). การดูแลและส่งเสริมคุณภาพผู้สูงอายุ สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล. (ม.ป.ป.). 5 โรคร้ายที่พบมากในผู้สูงอายุ. สืบค้น 28 กรกฎาคม 2563 จาก http://theworldmedicalcenter.com/th/new_site/ health_article/detail/?page=5-โรคร้าย-ใกล้ตัวผู้สูงวัย
วิธีการดูแลผู้ป่วย “โรคความดันโลหิตสูง”. (ม.ป.ป.). สืบค้น 28 กรกฎาคม 2563 จากhttps://www.bangkokpattayahospital.com/th/healthcare-services/neuroscience-center-th/neuroscience-articles-th/item/890-high-blood-pressure-th.html
อาการของโรคเบาหวาน. (ม.ป.ป.). สืบค้น 28 กรกฎาคม 2563 จาก https://www.bangkokpattayahospital.com/th/ healthcare-services-th/dm-and-endocrinology-center-th/item/1284.html
การดูแลรักษาด้วยตนเองรอบด้านในเรื่องข้อเข่าเสื่อม. (ม.ป.ป.). สืบค้น 28 กรกฎาคม 2563 จาก
https:// www.brandsworld.co.th/th/article-listing/osteoarthritis.html
การสร้างเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและกลุ่มเสี่ยงผู้สูงอายุ. (ม.ป.ป.). สืบค้น 28 กรกฎาคม 2563 จาก http://www.bmbmd.research.chula.ac.th/kn1.htm
นางณิชากร เมตาภรณ์ ครู สถาบัน กศน. ภาคเหนือ
อ้างอิง :
สถาบัน กศน.ภาคตะวันออก. (ม.ป.ป.). การดูแลและส่งเสริมคุณภาพผู้สูงอายุ สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล. (ม.ป.ป.). 5 โรคร้ายที่พบมากในผู้สูงอายุ. สืบค้น 28 กรกฎาคม 2563 จาก http://theworldmedicalcenter.com/th/new_site/ health_article/detail/?page=5-โรคร้าย-ใกล้ตัวผู้สูงวัย
วิธีการดูแลผู้ป่วย “โรคความดันโลหิตสูง”. (ม.ป.ป.). สืบค้น 28 กรกฎาคม 2563 จากhttps://www.bangkokpattayahospital.com/th/healthcare-services/neuroscience-center-th/neuroscience-articles-th/item/890-high-blood-pressure-th.html
อาการของโรคเบาหวาน. (ม.ป.ป.). สืบค้น 28 กรกฎาคม 2563 จาก https://www.bangkokpattayahospital.com/th/ healthcare-services-th/dm-and-endocrinology-center-th/item/1284.html
การดูแลรักษาด้วยตนเองรอบด้านในเรื่องข้อเข่าเสื่อม. (ม.ป.ป.). สืบค้น 28 กรกฎาคม 2563 จาก
https:// www.brandsworld.co.th/th/article-listing/osteoarthritis.html
การสร้างเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและกลุ่มเสี่ยงผู้สูงอายุ. (ม.ป.ป.). สืบค้น 28 กรกฎาคม 2563 จาก http://www.bmbmd.research.chula.ac.th/kn1.htm