ภาพจาก ไทยรัฐออนไลน์ https://www.thairath.co.th/content/412766
คำว่า PM ที่ย่อมาจาก Particulate Matters เป็นคำเรียกค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แบ่งย่อยออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน เรียกว่า ฝุ่นPM2.5 และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน หรือที่เรียกว่า ฝุ่น PM10
ฝุ่น PM10 เป็นฝุ่นหยาบ มีขนาดอนุภาคอยู่ในช่วง 2.5-10 ไมครอน ที่มาของฝุ่นชนิดนี้ส่วนใหญ่จะมาจากถนนที่ไม่ได้ลาดยาง ฝุ่นจากการจราจร การขนส่ง และจากการบดหิน หรือย่อยหิน ผลกระทบของคนที่ได้รับฝุ่น หรือหมอกควัน PM 10 เป็นปริมาณมาก ๆ มักจะเกิดการระคายเคือง แสบตา แสบปากและลำคอ ส่วนโรคที่มีต้นกำเนิดมาจากฝุ่นประเภทนี้มีหลายโรคค่ะ ยกตัวอย่างเช่น โรคภูมิแพ้ หอบหืด ถุงลมโป่งพอง และโรคหัวใจ เป็นต้น
ฝุ่น PM 2.5 ฝุ่นชนิดนี้เป็นฝุ่นละเอียด มีอนุภาคเล็กกว่า 2.5 ไมครอน มีขนาดเล็กประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผม ขนจมูกไม่สามารถกรองได้ ลอยในอากาศได้นานและไกลถึง 1,000 กิโลเมตร และอาจมีสารพิษที่เกาะมาด้วย หากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ล่องลอยอยู่ในอากาศปริมาณมาก จะเห็นท้องฟ้าเป็นสีหม่น หรือเกิดเป็นหมอกควัน ที่มาของฝุ่นชนิดนี้คือการเผาไหม้เชื้อเพลิง อย่างเช่น ควันเสียรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม โรงผลิตไฟฟ้า และจากการผลิตสารเคมี เป็นต้น โดยที่ฝุ่นนี้ที่สามารถเข้าไปจนถึงถุงลมในปอดได้ ซึ่งอันตรายจากฝุ่นประเภทคือจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของปอดเสื่อม แย่ลง ถ้าเกิดสูดฝุ่น PM 2.5 เข้าไปมาก ๆ จะทำให้เราหายใจได้สั้น และทำให้หัวใจทำงานหนัก เพราะว่าปอดแลกเปลี่ยนอากาศได้น้อยลง ฝุ่นขนาด PM 2.5 จึงมักจะเชื่อมโยงกับการเกิดโรคหัวใจและโรคปอดนั่นเอง
ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในประเทศไทย
มีสาเหตุมาจากปัจจัยที่ควบคุมได้และปัจจัยควบคุมไม่ได้ ดังนี้
ปัจจัยที่ควบคุมได้ : กิจกรรมของมนุษย์
• การเผาในที่โล่ง เช่น เผาเศษวัสดุการเกษตร เผาขยะ
• การจราจร
• การเผาไหม้เชื้อเพลิงอุตสาหกรรม
• การก่อสร้างอาคาร
• การสูบบุหรี่
• การใช้เตาปิ้งย่างที่ทาให้เกิดควัน
• สถานประกอบการต่าง ๆ เช่น อู่ซ่อมรถ พ่นสีรถ
• การจราจร
• การเผาไหม้เชื้อเพลิงอุตสาหกรรม
• การก่อสร้างอาคาร
• การสูบบุหรี่
• การใช้เตาปิ้งย่างที่ทาให้เกิดควัน
• สถานประกอบการต่าง ๆ เช่น อู่ซ่อมรถ พ่นสีรถ
ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ สภาพอุตุนิยมวิทยา:
• อากาศเย็นและแห้ง ความกดอากาศสูง
• สภาพอากาศนิ่ง ทำให้ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่แพร่กระจาย ฝุ่นละอองแขวนลอยได้นาน
สาเหตุของฝุ่นละอองขนาดเล็ก มีความแตกต่างกันตามแหล่งกำเนิดในแต่ละพื้นที่
- พื้นที่ภาคเหนือ มักเกิดจากปัญหาไฟป่าและการลักลอบเผาในที่โล่ง เช่น การเผาเศษวัชพืช การเผาเศษวัสดุทางการเกษตร ประกอบกับภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะและมีภูเขาล้อมรอบ ซึ่งในช่วงหน้าแล้งอากาศแห้ง ความกดอากาศสูง ทาให้เกิดสภาวะอากาศปิด ความรุนแรงของปัญหาจึงเพิ่มขึ้น
- ในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเมืองหลักในภูมิภาคต่าง ๆ มีแหล่งกำเนิดหลักมาจากรถยนต์ที่วิ่งบนท้องถนน และเครื่องยนต์ที่เผาไหม้ไม่สมบูรณ์ รวมถึงการติดเครื่องยนต์ขณะจอดอยู่กับที่ โดยเฉพาะในช่วงที่การจราจรหนาแน่นและติดขัด ทาให้เกิดการสะสมตัวของมลพิษทางอากาศในปริมาณมาก นอกจากนี้ยังเกิดจากการเผาไหม้ต่าง ๆ ในบ้านเรือนหรือกิจกรรมชุมชน เช่น การจุดเตาถ่านในบ้านเรือน การปิ้งหรือย่างอาหาร ทาให้มีการสะสมมลพิษทางอากาศในปริมาณสูงขึ้น ทำให้เป็นอันตรายโดยเฉพาะในห้องที่ไม่มีช่องระบายอากาศ รวมถึงปฏิกิริยาเคมีในอากาศ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ออกไซต์ของไนโตรเจน (NOX) และสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) ทาปฏิกิริยากับสารอื่นในอากาศเกิดเป็นฝุ่นละเอียดได้
ข้อแนะนำและวิธีป้องกันตนเองจากฝุ่นพิษ PM 2.5
- ลดการใช้ยานพาหนะส่วนตัว ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
- หลีกเลี่ยงการเผาไหม้ในที่โล่งแจ้ง เผาพื้นที่เพื่อเตรียมการทำเกษตรกรรม เผาขยะ หรือวัสดุเหลือใช้
- ควบคุมกระบวนการก่อสร้างให้มีฝุ่นน้อยที่สุด
- ออกกำลังกายในที่ร่ม ฝุ่นน้อยๆ และไม่ควรใส่หน้ากากอนามัยเวลาออกกำลังกาย
- รับประทานอาหารเสริม อาหารที่มีวิตามินซี และวิตามินอีสูง เช่น ถั่ว ปลา(มีโอเมก้า 3 มาก)
- ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่จำเป็นต้องออกข้างนอกบ้าน หรือที่โล่งแจ้ง ให้ใส่หน้ากากพิเศษชนิดที่เรียกว่า “เอ็นเก้าสิบห้า” โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคระบบการหายใจหรือโรคหัวใจเรื้อรัง สำหรับคนทั่วไปอย่างน้อยให้ใส่ “หน้ากากอนามัย” โดยต้องใส่ให้ถูกต้องวิธี คือ หันด้านที่เป็นสีเขียวและเป็นมันออกด้านนอก ให้ส่วนที่มีแผ่นเสริมความแข็งแรงและช่วยการเข้ารูปอยู่ด้านบนของจมูก สังเกตรอยพับของผ้าด้านหน้าต้องพับลง หากใส่ผิดรอยพับจะกักเก็บฝุ่นละอองในรอยพับ ทำให้หายใจลำบาก
ผู้ที่มีโอกาสได้รับอันตรายจากฝุ่นละอองในอากาศมากกว่าคนทั่วไป
ได้แก่ เด็ก คนสูงวัย ผู้ป่วยโรคปอดและโรคหัวใจ ถึงแม้บุคคลทั่วไปที่มีร่างกายแข็งแรงดี หากได้รับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีความเข้มข้นมากกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรอากาศ ในระยะเวลานาน ก็สามารถเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้เช่นกัน โดยอาจจะเป็นภูมิแพ้ ท่อลมฝอยอุดตัน หอบหืดเรื้อรัง ปอดอักเสบเรื้อรัง ไอเป็นเลือด โรคหลอดเลือดและหัวใจ
ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่าเราสามารถสูดฝุ่นขนาด PM 10 และ PM 2.5 เข้าสู่ร่างกายได้มากแค่ไหนก่อนที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะฉะนั้น จึงควรเลี่ยงความเสี่ยงจากโรคร้ายที่เกิดจากฝุ่นทั้ง 2 ขนาด ด้วยการอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศสะอาด หรือสวมใส่หน้าป้องกันฝุ่นควันขนาดเล็ก เช่น หน้ากาก N95 หรือ หน้ากาก RespoKare Anti-Pollution Mask
ประเภทของหน้ากากอนามัยและการเลือกใช้ให้เหมาะสม
- หน้ากากอนามัยชนิด N95 เป็นหน้ากากอนามัยที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้เป็นหน้ากากที่ได้มาตรฐานและได้รับการยอมรับว่าสามารถป้องกันเชื้อโรคได้ดีที่สุด เพราะป้องกันได้ทั้งฝุ่นละอองและเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กถึง 0.3 ไมครอน เหมาะสำหรับป้องกันมลพิษ ฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่าง PM2.5 ควันพิษ ไอเสียรถยนต์ และไอระเหยของสารเคมีต่าง ๆ
- หน้ากากอนามัยแบบเยื่อกระดาษ 3 ชั้น หรือ หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ เป็นแบบที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย หาซื้อได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อและร้านขายยาทั่วไป เน้นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคจากการไอหรือจามจากเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราได้ แต่หากเป็นเชื้อไวรัสซึ่งมีอนุภาคเล็กระดับไมครอน อาจไม่สามารถป้องกันได้ จึงไม่เพียงพอหากต้องการป้องกันฝุ่นพิษ PM2.5 และควรใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่แนะนำให้ใช้ซ้ำ
- หน้ากากอนามัยแบบผ้าฝ้าย ระดับความป้องกันไม่แตกต่างจากหน้ากากอนามัยแบบเยื่อกระดาษ เน้นการป้องกันการกระจายของน้ำมูกหรือน้ำลายจากการไอจาม สามารถป้องกันฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่กว่า 3 ไมครอนขึ้นไป จึงไม่เหมาะกับการป้องกันฝุ่นละออง PM2.5 แต่มีข้อดี คือ ประหยัด สามารถนำไปซักกับน้ำยาฆ่าเชื้อโรคแล้วนำลับมาใช้ใหม่ได้
เรียบเรียง :
นัชรึ อุ่มบางตลาด ครู ชำนาญการ สถาบัน กศน.ภาคเหนือ
อ้างอิง :
บริษัทโฮลีสเมดิแคร์. ฝุ่นละอองอนุภาคเล็ก (PM2.5). กับอันตรายที่ไม่เล็ก. สืบค้นจาก https://www.holismedicare.com/content/4718/ฝุ่นละอองอนุภาคเล็กPM25-กับอันตรายที่ไม่เล็ก
สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562, 6 กุมภาพันธุ์). รู้จักฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่มากับมลภาวะ และวิธีการเลือกหน้ากากป้องกัน. สืบค้นจาก http://www.mnre.go.th/om/th/news/detail/31459