ก็จำเป็นต้องรู้วิธีที่จะเผชิญกับปัญหาและดำเนินชีวิตอย่างปลอดภัยทั้งขณะที่อยู่ภายในและภายนอกบ้านหรืออาคารที่เราอาศัยอยู่ด้วย
ภาพจาก สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม http://www.onep.go.th/
การปฏิบัติขณะอยู่ภายในบ้านหรืออาคาร
เรียบเรียง :
อ้างอิง :
- ทำความสะอาดภายในบ้านหรืออาคาร โดยใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดถู แทนการใช้เครื่องดูดฝุ่น หรือไม้กวาดในการทำความสะอาดเนื่องจากจะทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย
- จัดให้มีห้องสะอาดภายในบ้าน ห้องสะอาดภายในบ้านหากเป็นห้องที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศควรเลือกห้องที่มีประตูหรือหน้าต่างน้อยที่สุด และปิดประตู หน้าต่างให้มิดชิดอยู่เสมอ กรณีที่เป็นห้องที่มีเครื่องปรับอากาศและมีระบบดูดอากาศจากภายนอกเข้ามา ให้ปิดช่องอากาศนั้นเสีย เพื่อป้องกันฝุ่นเข้ามาภายในห้องสะอาด และตรวจสอบทำความสะอาดแผ่นกรองทุกเดือน
- ละเว้นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นหรือมลพิษเพิ่มมากขึ้น เช่น สูบบุหรี่ ใช้เตาถ่าน ทำอาหารประเภทปิ้ง-ย่าง จุดธูป-เทียน ใช้เครื่องดูดฝุ่น กวาดพื้น เป็นต้น การเว้นกิจกรรมเหล่านี้ก็เป็นการลดฝุ่นหรือมลพิษด้วย
- หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องผลิตโอโซน หน่วยงานสาธารณสุขของ California Air Resources Board และ EPA ของสหรัฐอเมริกา มีความเห็นว่าโอโซนที่ไผลิตจากเครื่องไม่สามารถกำจัดอนุภาคออกจากอากาศได้ จึงไม่เกิดประโยชน์ต่อการลดฝุ่นในช่วงที่เกิดปัญหาหมอกควัน
- ใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ หน้ากากเป็นอุปกรณ์ที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กที่สร้างมลพิษในอากาศได้สูงถึงร้อยละ 99 (หน้ากาก N95 กรองได้อย่างน้อยร้อยละ 95 ส่วนหน้ากาก N99 กรองได้ร้อยละ 99) โดยเลือกขนาดให้เหมาะสมและกระชับกับใบหน้า (ครอบได้กระชับทั้งจมูกและใต้คาง) และสวมอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันอากาศภายนอกรอดเข้าไปในหน้ากากให้น้อยที่สุด พึงระลึกไว้เสมอว่า หน้ากากป้องกันทางเดินหายใจจากมลพิษ ต่างจากหน้ากากที่แพทย์ใช้ในห้องผ่าตัด หรือผ้าเช็ดหน้า หรือหน้ากากกระดาษ เพราะหน้ากากเหล่านี้ไม่สามารถป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กเข้าสู่ระบบหายใจได้
- ลดกิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมที่ต้องออกแรงมากมีโอกาสทำให้มลพิษในอากาศเข้าสู่ปอดได้มากขึ้น เนื่องจากขณะออกแรงอัตราการหายใจเอาอากาศเข้าสู่ร่างกายจะเพิ่มขึ้น 10-20 เท่าของอัตราการหายใจในสภาวะปกติที่ไม่ได้ออกแรง จึงควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมการออกกำลังกายกลางแจ้งในช่วงที่มีปัญหามลพิษทางอากาศ จะทำให้เรามีความปลอดภัยมากขึ้น
- ลดปริมาณมลพิษจากหมอกควันภายในรถยนต์ โดยการปิดหน้าต่างหรือช่องอากาศภายในรถยนต์ และปรับอากาศภายในรถยนต์ให้เป็นระบบที่ใช้อากาศหมุนเวียนภายใน ไม่ควรปรับใช้ระบบที่นำอากาศภายนอกเข้ามาภายในรถยนต์ เพราะจะทำให้มลพิษจากภายนอกเข้าสู่ในรถยนต์ได้ แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้รถยนต์เดินทางไปไกล ๆ ควรเปิดหน้าต่างบ้าง เพื่อลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่สะสมอยู่ภายใน
เรียบเรียง :
แก้วตา ธีระกุลพิศุทธิ์ ครู ชำนาญการพิเศษ
ส่วนจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สถาบัน กศน. ภาคเหนือ
อ้างอิง :
กรมอนามัย และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงจาก
มลพิษทางอากาศ กรณีหมอกควัน. สืบค้น 23 กันยายน 2563, http://hia.anamai.moph.go.th/download/hia/manual/book/book43.pdf
Voice online. (2562, 2 เมษายน). กรมอนามัยหนุนเชียงใหม่จัดห้องคลีนรูมช่วยประชาชนได้อากาศสะอาด. สืบค้นจาก http://www.voicetv.co.th/read/xsjHNEKTz
มลพิษจากอนุภาคฝุ่นละออง อันตรายคุกคามในอากาศ. สืบค้น 24 กันยายน 2563,
จาก https://www.bumrgunrad.com/th/health-blog/february-2018/air-pollution-threat