2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
3. ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ หมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้คลอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์กรต่าง ๆ ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ดังนี้
- การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร
- การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทำงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการใช้บริการ แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม
- การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
- การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าใหม่ขึ้นมา แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น
2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับ
ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับ
- ความถูกต้องของข้อมูลขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูล
- ต้องมีผู้รับผิดชอบในเรื่องความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่
- ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนการบันทึกหรือนำเข้าฐานข้อมูล
- ข้อมูลต้องมีการปรับปรุงให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
- ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลของตนเองได้
3. ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ ฯลฯ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) อันได้แก่ ดนตรี วรรณกรรม โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เปิดช่องทางให้ผลงานต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานด้านดนตรี วรรณกรรม โปรแกรมคอมพิวเตร์สามารถถูกจัดเก็บในรูปแบบที่เป็นข้อมูลดิจิทัล ทำให้ง่ายต่อการคัดลอกและนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงาน จึงเกิดเป็นการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาขึ้น โดยทั่วไปในส่วนของเทคโนโลยีสารสนเทศ มักจะพิจารณาถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ การใช้ซอฟต์แวร์ที่ผู้อื่นสร้างขึ้นจำเป็นต้องได้รับการอนุญาตจากผู้สร้าง โดยใบอนุญาต (license) เป็นสัญญาระหว่างผู้สร้างกับผู้ใช้ซอฟต์แวร์ ที่ให้สิทธิผู้ใช้ในการใช้ซอฟต์แวร์ได้โดยไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ปกติแล้วซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่นั้นจะมาพร้อมลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ เมื่อเราซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการจดลิขสิทธิ์ หมายความว่าเราได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์นั้น ซึ่งลิขสิทธิ์ในการใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละสินค้า แต่ลิขสิทธิ์นั้นไม่จำเป็นจะต้องจ่ายเงินซื้อเสมอไป อันที่จริงแล้วลิขสิทธิ์มีไว้เพื่อบ่งบอกสิทธิของผู้ที่จะใช้ว่า มีสิทธิแค่ไหน ทำอะไรได้บ้างซึ่งซอฟแวร์ลิขสิทธิ์แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ตามลักษณะการคุ้มครอง ดังนี้
ประเภทของลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
- Commercial ware คือ ซอฟต์แวร์ที่เน้นในเรื่องของการทำธุรกิจ ผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำซอฟต์แวร์ดังกล่าวมาใช้ มีการคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์อย่างเต็มที่
- Share ware คือ ซอฟต์แวร์ที่มีการเปิดให้ทดลองใช้งานก่อน เมื่อผู้ใช้ตัดสินใจซื้อ เจ้าของจะทำการเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้ มีการคุ้มครองลิขสิทธิ์อย่างเต็มที่
- Ad ware คือ โปรแกรมที่เปิดให้ใช้ฟรี โดยมักมีโฆษณาขึ้นมาในหน้าเบราว์เซอร์ระหว่างการใช้ หรือมีการเก็บเงินหากต้องการใช้ในเวอร์ชั่นที่ไม่มีโฆษณา ซอฟต์แวร์ประเภทนี้มีการคุ้มครองลิขสิทธิ์อย่างเต็มที่
- Free ware คือ โปรแกรมที่ให้ใช้ฟรี โดยที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนใด ๆ เลย แต่ผู้ใช้ต้องไม่นำโปรแกรมไปใช้ในเชิงธุรกิจ การคุ้มครองจะน้อย หรือมีการคุ้มครองเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
- Open source คือ โปรแกรมที่ทำออกมาให้ใช้ฟรี และผู้ใช้สามารถพัฒนาโปรแกรมโดยการเขียนโปรแกรมเพิ่มหรือแก้ไขได้อีกด้วย
4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibillty)
แนวประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจุบันการเข้าใช้งานโปรแกรมหรือระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นการรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูล จะต้องมีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูล โดยการกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลตามระดับของผู้ใช้งาน และป้องกันมิให้ผู้ใช้ที่ไม่ส่วนเกี่ยวข้องเข้าดำเนินการต่าง ๆ กับข้อมูล ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว
เขียน/เรียบเรียง : นัชรี อุ่มบางตลาด สถาบัน กศน.ภาคเหนือ