ภาพโดย : กาญจนภัสส์ ทวีกิตติ
รูปร่างของเสาดินจะเป็นเช่นไรนั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ปริมาณน้ำฝน ประเภทของหิน และความลาดชันของพื้นที่ คือ ยิ่งมีปริมาณฝนมาก เสาดินจะถูกกัดเซาะจนมีรูปร่างที่เรียวแหลม ถ้าเป็นหินที่มีความแข็งแกร่งจะต้านทานการกัดเซาะได้ดีกว่า จะส่งผลให้เสาดินมีรูปร่างที่มั่นคง นอกจากนี้พื้นที่ที่มีความลาดชันทำให้น้ำฝนจะไหลผ่านได้เร็ว เสาดินจะมีรูปร่างแหลมชี้ และยิ่งใช้เวลานานในการกัดเซาะ
เสาดินจะมีรูปร่างที่แปลกตามากขึ้นไปอีก
เสาดิน ไม่ได้เป็นเพียงแค่สิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ แต่ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ แสดงถึงxระวัติศาสตร์ทางธรณีวิทยาของพื้นที่ในประเทศไทย มีเสาดินที่คล้ายกันและมีชื่อเสียงอยู่หลายแห่ง เช่น แพะเมืองผี จังหวัดแพร่ โป่งยุบ จังหวัดราชบุรี ละลุ จังหวัดสระแก้ว เสาดินนาน้อย จังหวัดน่าน เสาดิน
ภูเรือ จังหวัดเลย เสาดินพระวิหาร จังหวัดอุดรธานี และเสาดินโคกสลุง จังหวัดลพบุรี
โป่งยุบ จังหวัดราชบุรี
ภาพจาก : ราชบุรีละไม. https://ratchaburilamai.wordpress.com//2014/02/06/โป่งยุบ/
แพะเมืองผี จังหวัดแพร่
ภาพจาก : องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) https://cbtthailand.dasta.or.th/webapp/relattraction/content/2305/
เสาดินบางแห่ง นอกจากจะเป็นสถานทีท่องเที่ยวแล้ว ยังมีตำนานและความเชื่อแฝงอยู่ด้วย เช่น เสาดินที่ชาวบ้านตั้งชื่อว่า “เสาปู่เขียว” ตั้งอยู่ในเสาดินนาน้อย ภายในเขตอุทยานแห่งชาติศรีน่าน อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน มีตำนานเล่าขานต่อกันมาว่า ปู่เขียว เป็นหนุ่มในหมู่บ้านแต หมู่ 2 ตำบลเชียงของ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ซึ่งถูกสาวคนรักหักอก เลยหนีมาอาศัยร่มเงาเสาดินต้นนี้ และตรอมใจจนตาย เป็นที่มาของชื่อ “เสาปู่เขียว” ซึ่งเชื่อกันว่าคู่รักคู่ใดที่มากราบไหว้เสาดินต้นนี้ ก็จะสมหวังในความรัก
เสาปู่เขียว ในเสาหินนาน้อย จังหวัดน่าน
ภาพโดย กาญจนภัสส์ ทวีกิตติกร
เสาดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าควรแก่การอนุรักษ์ เราทุกคนควรมีส่วนร่วมในการปกป้องเสาดิน โดยหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำลายเสาดิน เช่น การปีนป่าย ไม่ควรทิ้งขยะบริเวณเสาดิน และสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การร่วมแรงร่วมใจของพวกเราทุกคน จะช่วยให้เสาดินคงอยู่เป็นสัญลักษณ์ทางธรรมชาติ มรดกทางธรณีวิทยาให้รุ่นลูกหลานได้สัมผัสและเรียนรู้ต่อไปตรานนานเท่านาน
เรียบเรียง :
กาญจนภัสส์ ทวีกิตติกร ครู ชำนาญการพิเศษ สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือ
อ้างอิง :
• ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2562, 25 พฤศจิกายน). กำแพงดิน/เสาดิน. คลังความรู้ SciMath. https://www.scimath.org/image-earthscience/item
/11136-2019-12-02-02-33-58
• ร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดี “เสาดินนาน้อย”. (ม.ป.ป). กรมศิลปากร.
https://www.finearts.go.th/main/view/25997-ร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดี-เสาดินนาน้อย?type1=4
• เสาดิน. กรมทรัพยากรธรณี. https://www.dmr.go.th/en/เขาดิน/